“สภาวัฒนธรรมขอนแก่น” ชู“หมอลำและฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เป็น Soft Power ที่สืบทอดกันมายาวนาน
‘สภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น’ และ’องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น’ จัดโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “หมอลำและฮีตสิบสอง คองสิบสี่ Soft Power อีสาน ประจำปี 2566” เนื่องจากได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของหมอลำและฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ที่นับวันได้สูญหายไปจากวิถีชีวิตของคนอีสาน อีกทั้งหมอลำ หมอแคนยังถือได้ว่าเป็นอัตตลักษ์ของจังหวัดขอนแก่น ที่ได้ชื่อว่า “เมืองหมอแคนแดนหมอลำ” และนับเป็นมรดกภูมิปัญญาของชาวอีสาน ซึ่งเป็น Soft Power ที่มั่นคงสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงานว่า ที่ ศาลาประชาคมจังหวัดขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นโดย สภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น และองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นได้รับเกียรติจาก ดร.พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิดงานโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “หมอลำและฮีตสิบสอง คองสิบสี่ Soft Power อีสาน ประจำปี 2566” โดยมี ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น กล่าวรายงานโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “หมอลำและฮีตสิบสอง คองสิบสี่ Soft Power อีสาน ประจำปี 2566” และทำพิธีมอบเกียรติบัตรแก่ศิลปิน ผู้ทรงคุณวุฒิ และประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอทั้ง 26 อำเภอ
ต่อจากนั้น ได้มีการบรรยายหัวข้อความเป็นมาของหมอลำและฮีตสิบสอง คองสิบสี่ โดย อาจารย์ประมวล พิมพ์เสน ประธานสภาวัฒนธรรมเฉลิมราชจังหวัดขอนแก่น การสัมมนากลุ่ม เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงพื้นบ้าน กับ วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านของท้องถิ่นอีสาน โดย ดร.ราตรี ศรีวิไล บงสิทธิพร นายกสมามหมอลำจังหวัดขอนแก่น นางฉวีวรรณ พันธุ นายกสมาคมหมอลำภาคอีสาน ศิลปินแห่งชาติ, นายฉลาด ส่งเสริม นายกสมาคมหมอลำจังหวัดอุบลราชธานี ศิลปินแห่งชาติ,ดำเนินรายการโดย ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น (ประธานสภาวัฒนธรรมภาคอีสาน), และกิจกรรมกระบวนการกลุ่มเสริมองค์ความรู้สู่หมอลำ และฮีตสิบสอง คองสิบสี่ โดย นายพิทยาพล บุตรวิชา ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านดอนหัน และทีมวิทยากรหมอลำจินตนา ปากไฟ,และหมอลำอุดมศิลป์
จากการจัดโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “หมอลำและฮีตสิบสอง คองสิบสี่ Soft Power อีสาน ประจำปี 2566” ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ได้กล่าวว่าเนื่องจากได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของหมอลำและตสิบสอง คองสิบสี่ ที่นับวันได้สูญหายไปจากวิถีชีวิตของคนอีสาน อีกทั้งหมอลำ หมอแคนยังถือได้ว่าเป็นอัตตลักษ์ของจังหวัดขอนแก่น ที่ได้ชื่อว่า “เมืองหมอแคนแดนหมอลำ” และนับเป็นมรดกภูมิปัญญาของชาวอีสาน ซึ่งเป็น Soft Power ที่มั่นคงสีบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน จึงได้ จัดทำโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “หมอลำและฮีตสิบสอง คองสิบสี่ Soft Power อีสาน ประจำปี 2566” โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรมจากคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น สภาวัฒนธรรมอำเภอ ทั้ง 26 อำเภอในจังหวัดขอนแก่น หมอลำ หมอแคน ปราชญ์ชาวบ้าน เยาวชนต้นกล้าสภาวัฒนธรรมรวมทั้งสิ้น 150 คน
โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสานและเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม ด้านหมอลำตสิบสองคองสิบสี่ ให้คงอยู่สืบไปตลอดจน คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น/คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอ 26 อำเภอ จังหวัดขอนแก่นและปราชญ์ชาวบ้าน มีพื้นที่ในการแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมสู่สาธารณชน และเกิดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์การแสดงศิลปวัฒนธรรม สู่การพัฒนาจังหวัดขอนแก่น ให้เป็นมหานครขอนแก่นอย่างยั่งยืน อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อน Soft Power ระดับท้องถิ่น ส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์ ที่ดีของจังหวัด ไปสู่ระดับประเทศ และนานาประเทศ
นอกจากการจัดอบรมสัมมนาในครั้งนี้แล้ว สภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น จะได้จัดกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม เพื่อให้เชื่อมโยงเครือข่ายทุกระดับทั้งภายในจังหวัดขอนแก่น และเชื่อมโยงกับสภาวัฒนธรรมทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทั้งระดับประเทศ และให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องตลอดไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องหมอลำและฮีตสิบสอง คองสิบสี่ Soft Power อีสาน.