สปสช เขต 7 จัดเวทีสมัชชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นผู้ให้และผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เวทีสมัชชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นผู้ให้และผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ‏ปี 2560 “ร้อยแก่นสารสินธุ์” ที่โรงแรมอวานี อ.เมือง จ.ขอนแก่น จัดโดย สปสช เขต 7 ขอนแก่น

วันที่ 19 มิ.ย.60 ณ โรงแรมอวานี อ.เมือง จ.ขอนแก่น  สปสช เขต 7 ขอนแก่น ได้จัดเวทีสมัชชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นผู้ให้และผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2560 “ร้อยแก่นสารสินธุ์” ระดับเขต เขต7 ขอนแก่น  โดยมี รศ.ดร. ทัศนา บุญทอง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุม มีนพ.ปรีดา แต้อารักษ์ ผอ.สปสช.เขต 7 ขอนแก่น กล่าวรายงาน ในงานมีทั้ง ผู้ให้บริการ,ผู้รับบริการ,ท้องถิ่น เข้าร่วมรับฟัง เสนอข้อคิดเห็นกันอย่างคับคั่ง โดยหลังจากได้ประเด็นข้อสรุปแล้ว จะส่งมอบประเด็นสรุปข้อเสนอการรับฟังความคิดเห็นต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่ เขต 7 ขอนแก่น,คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข ระดับเขตพื้นที่เขต 7 ขอนแก่น ต่อไป  ชมคลิปวีดีโอ

ทั้งนี้  ความเห็นที่ได้สะท้อนมาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น

  1. การประเมินมาตรฐานหน่วยบริการไม่ควรใช้แบบประเมินหลายแบบ โดยให้จัดทำมาตรฐานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยคำนึงถึงบริบทของพื้นที่ด้วย

  2. พัฒนามาตรฐานบริการของหน่วยบริการในเขตพื้นที่ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคณะกรรมการจากหลายภาคส่วน ร่วมกันออกแบบแนวทางและตรวจสอบ

  3. สปสช. ควร กำหนดมาตรฐาน ของ รพ.สต. โดยใช้ มาตรฐาน PCA กำกับการดำเนินงาน หรือ กำหนดมาตรฐาน ของ รพ.สต. โดยใช้ มาตรฐาน รพ.สต.ติดดาว (( PCA เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ผ่านเกณฑ์ ระดับ 3 (ส่วนมากผ่าน 100 โดยแบบประเมินตนเอง) สร้างมาตรฐานยกระดับให้ผ่านระดับ 4 โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน รพ.สต. ติดดาว มาประเมินร่วมเพื่อปรับระดับ (ปัญหาที่พบ ยังไม่มีทีมประเมินคุณภาพภายนอกจากเขต )

  4. เกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ QOF ควรจะให้โดยตรงกับหน่วยบริการที่ทำงานนั้น ๆ โดยกำหนดการจัดสรร QOF ควรมีการกำหนดมาตรการ ในการจัดสรรเงินผลตามผลงาน ระหว่าง CUP และ รพ.สต. ให้ชัดเจน

  5. เงินตามผลงาน ต่าง ๆ ให้โอนตรงไปที่ รพ.สต. โดยตรง เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการพัฒนาระบบต่าง ๆ ใน รพ.สต. และให้ สปสช. กำหนดสัดส่วนการจัดสรร ให้โอนตามผลงานจริง ลงที่หน่วยงานบริการที่ดำเนินการไม่ใช่โอนผ่าน CUP

  6. ควรมีการกำกับมาตรฐานศูนย์ส่งต่อ อยากให้ สปสช. กำกับดูแล มาตรฐานการส่งต่อ ของ อปท.ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

  7. สปสช. ต้องทำแผนพัฒนาศักยภาพผู้ประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประเมิน และเพิ่มความน่าเชื่อถือของทีมประเมินโดยทีมประเมินภายนอก โดย สรพ. ประเมิน HA และ มีการประเมิน DHS ร่วมด้วย ด้วยการให้ผนวก/บูรณาการณ์ ในออกนิเทศ ประเมินร่วมกัน

  8. การดำเนินงาน LTC เสนอให้ สปสช. หางบประมาณสนับสนุนผู้จัดการทีม (CM) ในการดำเนินงาน LTC โดยให้ อปท. มีหน้าที่จัดหาบุคลากรไม่ใช่ สธ. และมีค่าตอบแทนให้กับ CM ในการดำเนินงาน LTC แยกต่างหาก



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น