จ.ร้อย-แก่น-สาร-สินธุ์ ทบทวน การดำเนินงาน การขับเคลื่อนประเด็นสำคัญ ของ กปข.เขตพื้นที่ 7

จ.ร้อย-แก่น-สาร-สินธุ์ ทบทวน การดำเนินงาน การขับเคลื่อนประเด็นสำคัญ ของ กปข.เขตพื้นที่ 7

เขตสุขภาพที่ 7 เพื่อประชาชน ทำงานมาเข้าสู่สมัยที่ 2 ก้าวสู่ปีที่ 6 โดยได้ทำงานกับภาคีเครือข่าย และได้วางเป้าหมายในการทำงาน วันนี้จึงได้มาทบทวนบทเรียน ตลอดจนแนะแนวทางดำเนินงานของ กขป.เขตพื้นที่ 7 ระหว่างปี 2566-2567
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 28 กันยายน 2566 ที่ ห้องประชุม โรงแรมวิชชิ่งทรี รีสอร์ท ต.ท่าพระอ.เมือง จ.ขอนแก่น นายสุทธินันท์ บุญมี ประธาน กขป.เขตพื้นที่เขต 7 เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังการดำเนินงาน กขป.เขตพื้นที่ 7 ระหว่างวันที่ 27 ถึง 28 กันยายน 2566โดยมี รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ ,นายวิรัช มั่นในบุญธรรม รองประธานฯ ตลอดจนคณะกรรมการเขต สุขภาพเพื่อประชาชนเขตพื้นที่ 7 ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ และเลขานุการ ร่วมกขป. 7 เจ้าหน้าที่ และวิทยากร รวมจำนวน 65 คน ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ในครั้งนี้
ซึ่งในวันแรกวันที่ 20 กันยายน 2566ได้มีการชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดยทีมเลขานุการ กขป.เขตพื้นที่ 7 ต่อจากนั้นได้มีการ workshop เสริมพลังการทำงานของ กขป.เขตพื้นที่ 7 โดยอาจารย์,พูลสมบัติ นามหล้า ผู้เเชี่ยวชาญด้านเทคนิคศูนย์ประชาสัมพันธ์และการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ตบท้ายด้วยการแบ่งกลุ่มรายประเด็นเพื่อทำการประเมินตนเอง(Empowerment evolution)


ส่วนกิจกรรมในวันที่ 2 วันที่ 28 กันยายน 2566 ได้มีการทบทวนกิจกรรมสถานะสุขภาพะที่สำคัญที่จะส่งผลต่อสุขภาพ อาทิ มิติสุขภาพ โดยเขตสุขภาพที่ 7 ต่อด้วยมิติสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 10 ตามด้วยมิติทางเศรษฐกิจโดยหอการค้า และสภาอุตสาหกรรม จังหวัดขอนแก่น โดยคุณอดิเรก หงส์พูนพิพัฒน์ เสริมด้วยมิติทางสังคมของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่นและตบท้ายด้วยเครือข่ายภาคประชาสังคม ดำเนินรายการโดยนายวีระศักดิ์ชนะมารจากสปสชเขตพื้นที่ 7 ขอนแก่น ในช่วงท้ายของทาง กิจกรรมเป็นการแนะแนวทางดำเนินงานของ กขป.เขตพื้นที่ 7 ปี 2566-2567 โดยอาจารย์พูนสมบัติ นามหล้า ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคศูนย์ประชาสัมพันธ์และจัดการองค์กรเอกชนสาธารณรัฐประโยชน์ สรุปและปิดประชุม
นายสุทธินันท์ บุญมี ประธาน กขป.เขตพื้นที่เขต 7 กล่าวว่าในส่วนของ เขตสุขภาพที่ 7 เพื่อประชาชน ได้ทำงานมาเข้าสู่สมัยที่ 2 ก้าวสู่ปีที่ 6 ได้ทำงานกับภาคีเครือข่าย และได้วางเป้าหมายในการทำงาน วันนี้เราได้มาทบทวนบทเรียน วัตถุประสงค์แรก เราได้เชิญคณะกรรมการเขตสุขภาพที่ 7 เราร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น สมาคมผู้สูงอายุก็ดี ศูนย์อนามัยที่ 7 มูลนิธิ Health Net และสมาคมผู้สูงอายุภูมิปัญญาไทย ของเครือข่ายเรา มาวันนี้เพื่อจะมาทบทวนว่า สิ่งที่เราทำไปตลอดระยะเวลา 6 ปี เป้าหมายสามารถเดินตามวัตถุประสงค์ได้มากน้อยแค่ไหน และ พี่น้องที่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยดีขึ้นหรือเปล่า
นายสุทธินันท์ กล่าวอีกว่าตัวอย่างเช่นโรคพยาธิกับมะเร็งท่อน้ำดี ที่เราพยายามทำงานสนับสนุนกับสิ่งที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพี่น้องจะได้รับสิทธิในการตรวจคัดกรอง โดยใช้น้ำยาตรวจปัสสาวะ ในส่วนราชการ กับสิทธิประโยชน์ เครือข่ายมาทบทวนบทบาทของเรา นั่นก็คือวัตถุประสงค์หลักของเรา ประการที่ 2 คือเรามีความสนใจว่า การได้ถ่ายโอน รพ.สต.จากกระทรวงสาธารณสุขไปอยู่ที่อบต. ในเขตสุขภาพที่7 ได้มีการถ่ายโอนไปแล้ว 2 จังหวัด ขอนแก่น- ร้อยเอ็ด


นายสุทธินันท์ กล่าวต่อไปว่าพร้อมยังมาศึกษาว่าเมื่อถ่ายโอนไปแล้ว ว่าความพึงพอใจของพี่น้องประชาชนที่รับบริการมากน้อยเพียงใด แล้วก็การถ่ายโอนภารกิจมี อุปสรรคในการปฏิบัติอย่างไร วันนี้เราจึงได้เจออาจารย์คณะวิจัย ของวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเรา ถ้าเราตกลงปลงใจกันว่าการวิจัยในครั้งนี้ประสบผล จะขอความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หรือจังหวัดร้อยเอ็ดก็ดี ที่ยังไม่ได้ทำการวิจัย เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของรพ.สต.ต่อไป
นายสุทธินันท์ กล่าวสุดท้ายว่าอยากจะฝากไปยังพี่น้องประชาชนในเขตสุขภาพที่ 7 ว่า เราไม่มีงบประมาณใดกันมากมาย มีเพียงงบบริหารเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมในการประสานงานแต่ละฝ่าย ในภาคีเครือข่ายของหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นหลัก โดยจะมีผู้ประสานในการทำงาน ส่วนเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องของ 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรก คือ ตัวเองว่าได้ยินแล้วว่าถ้าไปกินปลาดิบต้องเป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งท่อน้ำดี หรือเรื่องโรคเบาหวาน เรื่องอาหารปลอดภัยก็ดี ตรงนี้อยู่ที่เราที่จะต้องดูแลตัวเราเองด้วย เป็นเรื่องของกิน การอยู่ และเรื่องสิ่งแวดล้อม และเรื่องฝุ่น PM 2.5 ก็ดี การเผาขยะ เผาทุกๆอย่างที่มา
เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากจะฝากพี่น้องประชาชน เราต้องสร้างวินัยตัวเราเอง ในเรื่องของการกิน การอยู่ และออกกำลังกาย และประการที่ 2 คือต้องสร้างชุมชนของเรา ทำชุมชนเราให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขยะ หรือมวลภาวะทางเสียงก็ดี ทางอากาศก็ดี เพราะฉะนั้น จะสำเร็จได้ พี่น้องประชาชนต้องร่วมไม้ร่วมมือกับ ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพในทุกๆมิติหรือในเรื่องของยาเสพติดด้วย เพราะฉะนั้น พี่น้องประชาชนเราต้องดูแลตัวเอง และดูแลสังคมในชุมชนบ้านเรา และให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ส่วนราชการโดยเฉพาะเขตสุขภาพที่ 7 ที่จะเป็นสื่อกลางตัวประสานงานให้กับที่เราประชาชนและส่วนราชการต่อไป.

 



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น