มข ผลิตเตียงพลิกตัวต้นทุนต่ำ ช่วยผู้ป่วยติดเตียง 

มข ผลิตเตียงพลิกตัวต้นทุนต่ำ ช่วยผู้ป่วยติดเตียง

        มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย คณะเทคนิคการแพทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และภาคเอกชน จัดโครงการพัฒนาส่งเสริมการผลิตเตียงพลิกตัวต้นทุนต่ำสำหรับผู้ป่วยติดเตียงโดยชุมชน   ภายใต้โครงการ CIGUS
       ปัจจุบัน สังคมประสบปัญหาเกี่ยวกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และ โรค NCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ   ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรม อัตราโรคเพิ่มขึ้น   อย่างต่อเนื่อง  จึงทำให้ 3 คณะ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินการวิเคราะห์และพัฒนาร่วมกันระหว่าง
คณะเศรษฐศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ นำโดย ศ.ดร.วิชัย อึงพินิจพงศ์ ผู้คิดค้นผลงานนวัตกรรม : “เตียงอัจฉริยะ ช่วยพลิกตะแคง” และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นำโดย ผศ.ดร.สุรกานต์ รวยสูงเนิน เกิดเป็นโครงการ “พัฒนาส่งเสริมการผลิตเตียงพลิกตัวต้นทุนต่ำสำหรับผู้ป่วยติดเตียงโดยชุมชน” ช่วยลดปัญหาแผลกดทับ และลดปัญหา               การขาดแคลนเตียงในชุมชน ซึ่งดำเนินการภายใต้โครงการ CIGUS (C – community, I – industry,         G – government, U – university, S – society) เป็นการนำองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา ในชุมชน โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นจำนวน 2 ครั้ง ณ ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัด
โดย คณะทำงาน ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้และการสร้างเตียงฯ ให้แก่ประชาชน ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
  ผศ.ดร.อมรรัตน์ จำเนียรทรได้ร่วมมอบเตียงพลิกตัวฯ ให้กับเทศบาลตำบลบ้านโต้น จำนวน 3 เตียง และเทศบาลตำบลหนองแวง จำนวน 2 เตียง  และให้ความรู้และวิธีการใช้เตียงพลิกตัวฯ   และการให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงพลิกตัว



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น