สราวุธ”ผู้สมัครผู้แทนเกษตรกร กฟก.เบอร์ 3 ภาคอีสาน ย้ำชัด นโยบาย 3 ผ่าตัดกองทุนฟื้นฟู
นายสราวุธ ศุภรมย์ ผู้สมัครผู้แทนเกษตรกรเบอร์ 3 ได้จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน และเสนอนโยบาย ต้องผ่าตัดกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จากปัญหาการขาด และไร้ซึ่งปัจจัยในการทำอาชีพของเกษตรกรภาคอีสาน ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินขาดทุนทำกิน ขาดที่อยู่ ที่ทำกิน ขาดน้ำ ถูกยึดทรัพย์ดำเนินคดี ซึ่งเป็นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับแต่อดีต ถึงปัจจุบันจึงทำให้ชีวิตครอบครัวของเกษตรกรอีสานขัดสนลำบากยากจนกว่าภูมิภาคอื่น ๆ
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จ.ขอนแก่น นายสราวุธ ศุภรมย์ ผู้สมัครผู้แทนเกษตรกรเบอร์ 3 ได้จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน และเสนอนโยบาย ต้องผ่าตัดกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จากปัญหาการขาด และไร้ซึ่งปัจจัยในการทำอาชีพของเกษตรกรภาคอีสาน ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินขาดทุนทำกิน ขาดที่อยู่ ที่ทำกิน ขาดน้ำ ถูกยึดทรัพย์ดำเนินคดี ซึ่งเป็นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับแต่อดีต ถึงปัจจุบันจึงทำให้ชีวิตครอบครัวของเกษตรกรอีสานขัดสนลำบากยากจนกว่าภูมิภาคอื่น ๆ จึงได้เสนอนโยบาย 3 ผ่าตัด คือ 1. ผ่าตัด การสื่อข้อมูลข่าวสาร เปิดให้ประชาชนได้รับรู้กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูฯ 2. ผ่าตัด การจัดการหนี้ที่ต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ตามหลักธรรมมาภิบาล ฯ และ3. ผ่าตัด กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดย หยุดแผนโครงการเบี้ยหัวแตกเล็กๆน้อยๆ ที่มิอาจแก้ปัญหาเชิงระบบได้ เป็นแผนโครงการขนาดใหญ่ครบวงจรด้วยการพัฒนาให้เป็น องค์กรเกษตรกร อุตสาหกรรมทั้งระบบ จะทำให้ให้เกษตรกรทุกรายสามารถเข้าร่วมกับองค์กรได้ ฯลฯ
นายสราวุธ ศุภรมย์ ผู้สมัครผู้แทนเกษตรกรเบอร์ 3 เปิดเผยว่า ช่วงปี 2538-42 เกษตรกรอีสานในนามแนวร่วมองค์กรเกษตรกรภาคอีสาน เช่น สกย.อ..มกท.ฯลฯ ได้รวมพลังกันเสนอกฎหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรจนสำเร็จ เป็นพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(กฟก.)ในปี 2542 นับได้ 24 ปีถึงปัจจุบัน แต่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ก็ยังไม่สามารถทำการแก้ปัญหาให้เกษตรกรตามวัตถุประสงค์ที่ออกกฎหมายได้เต็มที่ สาเหตุหนึ่งมาจากผู้แทนเกษตรกรขาดวิสัยทัศน์ ขาดความมุ่งมั่นและความไม่ชัดเจนโปร่งใสในการแก้ปัญหาของเกษตรกร หากปล่อยเช่นนี้ต่อไปกองทุนฟื้นฟูอันเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเกษตรกรผู้ยากไร้ อาจต้องล่มสลาย ก็เป็นได้ จึงได้เวลาที่ต้องผ่าตัดกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในด้านต่างๆ
นายสราวุธ เผยต่อว่า มีนโยบายหลัก ๆ คือ 1. ผ่าตัด การสื่อข้อมูลข่าวสาร เปิดให้ประชาชนได้รับรู้กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเช่น ถ่ายทอดสดการประชุมคณะกรรมการและอนุกรรมการทุกระดับผ่านสื่อที่เป็นสาธารณะ ฯลฯ 2. ผ่าตัด การจัดการหนี้ที่ต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ตามหลักธรรมมาภิบาล เช่น การซื้อหนี้จะต้องไม่มีการแซงคิวลัดคิวด้วยการหาผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจ และต้องจัดการหนี้ผ่านองค์กรและต้องจัดการหนี้ให้เกษตรกรทุกรายที่ขึ้นทะเบียนหนี้ ฯลฯ และ3. ผ่าตัด กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดย หยุดแผนโครงการเบี้ยหัวแตกเล็กๆน้อยๆที่มีอาจแก้ปัญหาเชิงระบบได้ เป็นแผนโครงการขนาดใหญ่ครบวงจรด้วยการพัฒนาให้เป็น องค์กรเกษตรกร อุตสาหกรรมทั้งระบบ จะทำให้ให้เกษตรกรทุกรายสามารถเข้าร่วมกับองค์กรได้ ฯลฯ
นายสราวุธ ศุภรมย์ เบอร์ 3 เผยทิ้งท้ายว่า ตั้งแต่เรียนจบปริญญาโทเมื่อปี 2556 ก็ทำเกษตรกรรมถึงวันนี้ทำมาแล้ว 10 ปี ปัจจุบันอายุ 33 ปี และในชีวิตได้มีส่วนร่วมในการเสนอกฎหมายด้วย เพราะตั้งแต่อยู่ประถม ก็ได้ไปเดินขบวนกับพ่อซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำ สกย.อ.ที่รู้จักในชื่อ “หมอดุ๊กภูเวียง” การไปกับขบวนม๊อบทำให้ซึมซับและเข้าใจปัญหาความยากลำบากของเกษตรกรอีสานเป็นอย่างดี จึงมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสานต่องานแก้ปัญหานี้ และหวังลึกๆว่าต่อไปเกษตรกรภาคอีสาน จะไม่ต้องได้ทำขบวนม๊อบอีกต่อไปแล้ว.
ซึ่งลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรภาคอีสาน ในวันที่12 พฤศจิกายน 66 ที่หน่วยเลือกตั้งแต่ละอำเภอ ระหว่าง เวลา 08.00-15.00 น ผู้มีสิทธิ 1 เลือกได้7 หมายเลข จังหวัด ขอนแก่น มี 169 หน่วยเลือกตั้งหนึ่งหน่วยเลือกตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งประมาณ 1,200 คน