โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพฯ กฟผ มอบสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น ในพื้นที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงขอนแก่น 1
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00น.ณ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน (อค-ปส.) กฟผ นำโดยนายจักรินทร์ กิจสุทธิพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน-สถานีไฟฟ้า (ช.อค-ปส.(สฟ)) ร่วมด้วย นายรัชรัถ นานาพานิช หัวหน้าหน่วยก่อสร้างสถานีไฟฟ้าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นถนอ-ปส.) พร้อมผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยก่อสร้างสถานีไฟฟ้าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นถนอ-ปส.) นายวีรศักดิ์ ชาติวรรณ หัวหน้าหน่วยวิศวกรรมสถานีไฟฟ้าแรงสูง (นวสฟ-ปส.) และนายวิษณุ วัฒนเวชรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – 2 (ช.อปอ-2.) พร้อมผู้ปฏิบัติงานฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อปอ.) มอบงบประมาณสนับสนุนโครงการจัดหาสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้กับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูง ของโครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน (อค-ปส.)
ด้านนายจักรินทร์ กิจสุทธิพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน-สถานีไฟฟ้า กฟผ ได้กล่าวว่า “เป็นโครงการของโครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน(อค-ปส.) อยากมาช่วยเด็กๆจัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ใช้เป็นส่วนตัวในการศึกษาเล่าเรียน อาทิ เสล์ท สไตลัส ไม้เท้าขาว สื่ออุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน อาทิ ชุดคอมพิวเตอร์ เครื่องชั่งน้ำหนักแบบมีเสียง เทอร์มอมิเตอร์แบบมีเสียง แผนที่แบบมีเสียง สำหรับงบประมาณที่ทาง กฟผ. สนับสนุน ทางโรงเรียนจะเร่งจัดหาซื้อสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาดังกล่าวให้กับนักเรียนผู้พิการ ถือว่า ทาง กฟผ.ช่วยเหลือให้ทุกคนได้เข้าถึงโอกาศที่เท่าเทียมกัน ” นายจักรินทร์ กิจสุทธิพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน-สถานีไฟฟ้ากล่าว
ทางด้าน นายวิษณุ วัฒนเวชรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – 2 (ช.อปอ-2.) พร้อมผู้ปฏิบัติงานฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อปอ.)ในฐานนะ กฟผ.ในพื้นที่ได้กล่าวเชิญช่วงพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้แนวสายส่งว่า “ในฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยากขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกคน ที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้แนวสายไฟ ขอให้ใช้ความระมัดระวังในการดำรงชีวิต ไฟฟ้ามีประโยชน์แต่ก็มีโทษ หากท่านก่อสร้างบ้านเรือนล้ำแนวสายส่ง เผาไร่อ้อย เผาหญ้าอาจเกิดอันตรายต่อระบบส่งไฟฟ้า อาจเกิดการขัดข้องไฟดับเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะช่วงนี้ใกล้เทศกาลลอยกระทงและปีใหม่ที่จะมาถึง ขอให้พี่น้องประชาชนระวังการปล่อยโคมใกล้แนวสายส่งด้วยนะครับ”นายวิษณุ วัฒนเวชรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – 2 (ช.อปอ-2.)กล่าว.
สุดท้าย นางชัญญานุช มูลวิชา ผู้อำนวยการโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่นได้กล่าวขอบคุณทาง กฟผ.ว่า “ในนามของคณะครูและนักเรียน บุคลากรทุกคนขอขอบพระคุณทาง กฟผ.โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน (อค-ปส.) ที่ได้มาบสนับสนุนงบประมาณจัดหาจัดซื้ออุปกรณ์ทางการศึกษาสำหรับนักเรียนคนพิการทางการเห็นโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น ที่ท่านได้เล็งเห็นของเด็นเหล่านี้เพื่อช่วยในการเรียน การสอน การดำรงชีวิต สามารถดำรงชีวิตในสังคมปกติ”นางชัญญานุช มูลวิชา ผู้อำนวยการโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่นกล่าวขอบคุณทาง
สำหรับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น เป็นสถานศึกษาประเภทการศึกษาพิเศษการกุศล จัดการศึกษาให้กับนักเรียนพิการทางการมองเห็นที่อยู่ในวัยเรียนอายุตั้งแต่ 3 ปี ไปจนถึงไม่จำกัดอายุ มีนักเรียนในการดูแลจำนวน 88 คน ซึ่งมีความจำเป็นต้องการจัดหาสื่อการเรียนการสอนเฉพาะความพิการเพื่อนำมาใช้พัฒนานักเรียน สื่ออุปกรณ์ที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สื่ออุปกรณ์ที่ใช้เป็นส่วนตัวในการศึกษาเล่าเรียน อาทิ เสล์ท สไตลัส ไม้เท้าขาว สื่ออุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน อาทิ ชุดคอมพิวเตอร์ เครื่องชั่งน้ำหนักแบบมีเสียง เทอร์มอมิเตอร์แบบมีเสียง แผนที่แบบมีเสียง สำหรับงบประมาณที่ทาง กฟผ. สนับสนุน ทางโรงเรียนจะเร่งจัดหาซื้อสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาดังกล่าวให้กับนักเรียนผู้พิการทางการเห็นได้ใช้ในการศึกษาเล่าเรียนต่อไป โดยมีนางชัญญานุช มูลวิชา ผู้อำนวยการโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น เป็นผู้รับมอบ
ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงขอนแก่น 1 (Job No. RTS2-01-S08) และเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการยอมรับในการดำเนินงานของโครงการฯ กฟผ. ต่อไป