อินเทลลิจิสต์” ร่วมกับ “รพ.สต.”ในสังกัด อบจ.ขอนแก่น สร้างบิ๊กดาต้าบูรณาการระบบสาธารณสุขแบบดิจิทัลทั้งระบบ
สัมภาษณ์ นายชนะ สุพัฒสร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อินเทลลิจิสต์ จำกัด (มหาชน)
เพื่อเป็นการพัฒนาในการใช้เทคโนโลยี มาดูแลพี่น้องชาวจังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันการบริหารสาธารณสุข เป็นไปไม่ได้ถ้ายังบริหารในรูปแบบเดิม โดยที่ปราศจากข้อมูลของประชาชนสาธารณสุข ระดับปฐมภูมินั้น ยังขาดแคลน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเป็นอย่างมาก ข้อมูลที่กล่าวถึงจะเป็นข้อมูลด้านไบโอ คือข้อมูลส่วนบุคคล จะทำอย่างไรผู้บริหารในระดับจังหวัด สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆเหล่านั้น และตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชนได้
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 ที่ ห้องประชุม Auditorium สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) นายชนะ สุพัฒสร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อินเทลลิจิสต์ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงวิชาการระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่และการเชื่อมโยงข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงานในหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ โดยมีว่าที่ ร.อ.พงเจตน์ พรกรุณา ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น , นายสมเกียรติ ชูศรีทอง หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุข อบจ.ขอนแก่น หัวหน้าสถานีอนามัย (รพ.สต.)ตลอดจน เจ้าหน้าที่ดูแลไอทีกว่า 279 คน จาก 248 แห่ง สังกัดอบจ.ขอนแก่น ทั่วเข้าร่วมประชุมสัมมนา และทีมสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวสังเกตการณ์ จำนวนมาก
นายชนะ สุพัฒสร ดุษฎีกิตติมศักดิ์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเทลลิจิสต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การประชุมเชิงวิชาการระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และการเชื่อมโยงข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงานในหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ของจังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นการพัฒนาในการใช้เทคโนโลยี มาดูแลพี่น้องชาวจังหวัดขอนแก่น ของเรา ปัจจุบันการบริหารสาธารณสุข เป็นไปไม่ได้ถ้าเรายังบริหารในรูปแบบเดิม โดยที่ปราศจากข้อมูล พี่น้องของเราตามอำเภอ ตำบลนั้น ยังขาดแคลนแล้วถ้าพูดถึงสาธารณสุข ระดับปฐมภูมินั้น เราจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเป็นอย่างมาก ข้อมูลที่กล่าวถึงจะเป็นข้อมูลด้านไบโอ คือข้อมูลส่วนบุคคล เช่นข้อมูลน้ำตาล ข้อมูลความดัน หรือข้อมูลสุขภาพต่างๆของเรา
นายชนะ กล่าวอีกว่า ในแต่ละอำเภอของเรานั้นความต้องการแตกต่างกัน จะทำอย่างไรผู้บริหารในระดับจังหวัด สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆเหล่านั้น และตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชนได้ ใช้ประสบการณ์อย่างเดียวไม่ดีแน่เราต้องสร้าง ถามว่าทุกวันนี้คุณหมอขาดแคลนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตอบได้เลยว่าขาดแคลน ถ้าเราสามารถแชร์ลิงก์ และสามารถรู้ข้อมูลที่จะเข้าถึง ได้อย่างรวดเร็ว คิดว่าจะทำให้จังหวัดขอนแก่นของเราพัฒนาไปอีกมาก
นายชนะ กล่าวอีกว่าบริษัท อินเทลลิจิสต์ จำกัด เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีผู้คนรู้จัก และเป็นคนที่ทำฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อย และเป็นฐานข้อมูลหลักที่จะเอาไปต่อยอด ในเชิงบวกของรัฐ เช่น คนละครึ่งเฟส 1 เฟส 2 เฟส 3 และชิม ช็อป ใช้ ตรงนั้นคือผลงานของเรา ปัจจุบันก็มีส่วนเชื่อมโยงขยาย ตัวเราเองมีเนื้อที่ดูแลรักษาข้อมูล รักษาความลับ รวมทั้งระบบงานด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข รวมทั้งศึกษาข้อจำกัดในการบริหารจัดการและการนำเสนอข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาการด้านคุณภาพข้อมูล และยกระดับการเชื่อมโยงระบบงานให้รวดเร็วแม่นยำ รวบรวมเป็นคลังข้อมูลเพื่อนำไปสู่การที่องค์การบริการส่วนจังหวัดขอนแก่น (อบจ.ขอนแก่น) สามารถขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานและผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ การแก้ไขปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชน
ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วนด้วยกันคือ1. ข้อมูลปฐมภูมิ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือบิ๊กดาต้า โดยยึดหลักการ PDPA รักษาข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ปัญหา เช่น พื้นที่ตรงไหนที่เกิดโรคระบาด ก็จะสามารถวิเคราะห์หรือเข้าไปป้องกันได้ทันท่วงที 2. ข้อมูลด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ
สาธารณสุข ระบบจะมีกระบวนการคิดคำนวณได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ว่องไว โดยข้อมูลนี้จะเชื่อมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆและเอกชนด้วย 3. ข้อมูลบิ๊กดาต้าสำหรับ อบจ.ที่จากเดิมเป็นกระดาษ ต่อไปจะกลายเป็นแบบดิจิทัลทั้งหมดสามารถสืบหาได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์การบริการสาธารณสุขที่ไม่ต้องวิ่งหาเอกสารหรือไปติดต่อหลายแห่ง เป็นการบูรณาการ ข้อมูลที่ส่งผลดีต่อประชาชนคนรับบริการและคนให้บริการ มีฐานข้อมูลที่แม่นยำชุด
เดียวกันมาใช้ใน รพ.สต. เพื่อให้นายกอบจ.
หรือหน่วยงานผู้บริหารระดับสูง ได้เห็น
ข้อมูลและวิเคราะห์เหตุการณ์ได้อย่างทันหรือหน่วยงานผู้บริหารระดับสูง ได้เห็น ทันท่วงที สามารถแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้อย่างรวดเร็วที่สุด”สำหรับกระบวนการทั้งหมดจะเป็นเรื่องของดิจิทัล เทคโนโลยี โดยยึดระเบียบ PDPA และสอดคล้องกับกฎหมายไทยทุกฉบับ”.