กองทุนฟื้นฟู ขอนแก่น “แจงระเบียบกู้เงินเลี้ยงโค-กระบือ ให้สมาชิก 14 องค์กร
สำนักงานกองทุนกองทุนฟื้นฟูฯสาขาขอนแก่น เชิญผู้แทนองค์กรสมาชิก 14 องค์กรที่เสนอกู้เงินเลี้ยงโค-กระบือ จาก กฟก. ซึ่งในการนี้ประธานอนุกรรมการหน.สนง.-จนท.ที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงข้อปฎิบัติ-ขั้นตอนตามระเบียบกฟก.ให้เข้าใจ และทุกองค์กร เข้าใจเป็นอย่างดี มีมติรับข้อเสนอทั้ง 14 องค์กร เป็นอย่างดี ประธานอนุกรรมการฯจึงมอบให้หน.สนง.นำเสนอที่ประชุมอนุกฟก.ขอนแก่นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ต่อไป
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 น.ที่ ห้องประชุมแก่นขาม ชั้น 2 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น พร้อมคณะร่วมกับสำนักงานกองทุนกองทุนฟื้นฟูฯสาขาขอนแก่น เชิญผู้แทนองค์กรสมาชิก 14 องค์กรที่เสนอกู้เงินเลี้ยงโค-กระบือ จาก กฟก. ซึ่งในการนี้ประธานอนุกรรมการหน.สนง.-จนท.ที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงข้อปฎิบัติ-ขั้นตอนตามระเบียบกฟก.ให้เข้าใจ และทุกองค์กร เข้าใจเป็นอย่างดี มีมติรับข้อเสนอทั้ง 14 องค์กร เป็นอย่างดี ประธานอนุกรรมการฯจึงมอบให้หน.สนง.นำเสนอที่ประชุมอนุกฟก.ขอนแก่นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ต่อไป โดยมี
นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น ตลอดจน นางอนงค์ ทวีแสน อนุกรรมการฯ กฟก.ขอนแก่น เจ้าหน้าที่ สำนักงานกองทุน ฯ ร่วมรับฟังการชี้แจง
ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ตามที่มีเกษตรกรสมาชิก 14 องค์กรที่เสนอกู้เงินเลี้ยงโค-กระบือ จาก กฟก. เป็นอาชีพเสริม รองจากการทำนาและทำไร่ ซึ่งสอดคล้องกับรัฐบาลมีนโยบายให้ชาวนาที่อยู่ในพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าว ให้ปรับเปลี่ยนมาเลี้ยงโค- กระบือ ทำให้เกษตรกร ได้ปรับเปลี่ยนมาประกอบอาชีพการเลี้ยงโค-กระบือมากขึ้น แต่พื้นที่เป็นแหล่งอาหารของโค-กระบือยังมีน้อยและพอถึงช่วงฤดูกระบือก็ขาดแคลนอาหาร ทำให้โค-กระบือของเกษตรกรได้รับอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ขาดแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย โค-กระบือไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร โค-กระบือที่ตั้งท้องก็อาจแท้งได้ พร้อมทั้งเกษตรกรขาดความรู้ด้านการดูแลการจัดการสุขภาพของโค-กระบือและการขยายพันธุ์ ส่งผลทำให้โค-กระบือของเกษตรกรมีราคาตกต่ำขายไม้ได้ราคาดี เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโค-กระบือให้ประสพความสำเร็จและยั้งยืน
ดร.สมยงค์ กล่าวว่าในวันนี้ที่ได้เรียกเกษตรกรสมาชิก 14 องค์กรที่เสนอกู้เงินเลี้ยงโค-กระบือ จาก กฟก. ได้รับฟังข้อชี้แจงข้อปฎิบัติ-ขั้นตอนตามระเบียบ ของ กฟก.ให้เข้าใจ วัตถุประสงค์นั้นเมื่อเกษตรกรได้รับเงินกู้ แล้วนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโค-กระบือของเกษตรกร ตลอดจน เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตโค-กระบือปรับปรุงพันธุ์โค-กระบือคุณภาพดีที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด และสร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงโค-กระบือของเกษตรกร ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือให้ยั้งยืนต่อไป.