“รพ.ชุมแพ ขอนแก่น” รุดเยียวยา ค่าจัดงานศพ คนป่วยจิตดับ
กรณีที่ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมแพ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง กรณีหนุ่มสายตรวจป่าไม้ ผู้ป่วยจิตเวช ช็อกเสียชีวิต ขณะถูก รปภ.และผู้ช่วยพยาบาล จับล็อคมัดกับเตียงคนไข้ หลังญาติทราบผลชันสูตรโดนเข่ากดทับทรวงอกจนขาดอากาศหายใจ ก่อนแจ้งความเอาผิด
เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่อยู่ 134 หมู่ 11 บ้านหนองบัวพรม ต.หนองคอนไทย อ.ภูเขียว จ. ชัยภูมิ นายสนอง มะลัยขวัญ นายอำเภอภูเขียว จ.ชัยภูมิ ได้นำพวงหรีดของนายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เคารพศพร่วมแสดงความเสียใจและไว้อาลัยแก่ นายเกริกฤทธิ์ ออมชัยภูมิ อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 134 หมู่ 11 บ้านหนองบัวพรหม ต.หนองคอนไทย อ.ภูเขียวจ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สายตรวจเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก -ยอดมน ต.คอแลนด์ อ.บุณฑริกจ.อุบลราชธานี และเป็นผู้ป่วยจิตเวช ช็อกเสียชีวิตขณะถูก รปภ.และผู้ช่วยพยาบาล จับล็อคมัดกับเตียงคนไข้ หลังญาติทราบผลชันสูตรโดนเข่ากดทับทรวงอกจนขาดอากาศหายใจ ก่อนแจ้งความเอาผิด โดยมี พญ.จารุพรรณ มโนสิทธิศักดิ์ ผอ.รพ.ชุมแพ พร้อมด้วย นายสรวิศ ม่วงมิตร รองผอ.ฝ่ายบริหาร รพ.ชุมแพ คณะผู้บริหาร แพทย์และพยาบาล ร่วมแสดงเคารพศพ และแสดงความเสียไว้อาลัย
นายสนอง มะลัยขวัญ นายอำเภอภูเขียว จ.ชัยภูมิ กล่าวว่า ถือว่าให้เป็นสิทธิ์ของผู้ที่ถูกกระทำ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่ามีกรอบอะไรบ้าง และสามารถเอามาช่วยเหลือกัน และเอาสิทธิ์ตรงนั้นมาช่วยเยียวยากับครอบครัว ของผู้ที่เสียชีวิต ให้ได้เต็มที่โดยตรงไปตรงมา ในสิทธิที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ. มาตรา 41 และของกระทรวงยุติธรรมที่สามารถจะช่วยเยียวยาเขาได้ เอามาช่วยกันทุกฝ่าย ส่วนเมื่อตอนเช้าก็มีกองบังคับคดีเข้ามาดูในส่วน ของผู้ถูกกระทำ และผู้ละเมิด ว่าเราจะสามารถช่วยกันได้อย่างไร ให้สองฝ่ายมาคุยกันเพื่อความสบายใจ ซึ่งก็น่าจะได้ข้อยุติ และก็จะได้ประสานทางโรงพยาบาลชุมแพได้เข้ามาคอยดูแลเขาอยู่เรื่อยๆ
ด้านนายสรวิศ ม่วงมิตร รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร รพ.ชุมแพ กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลชุมแพ โดย พญ.จารุพรรณ มโนสิทธิศักดิ์ ผอ.รพ.ชุมแพ ได้มอบหมายให้ตน ในนามฝ่ายบริหารได้เข้ามาดูแล ในกรณีที่เกิดเหตุขึ้นในครั้งนี้ เบื้องต้นท่านผู้อำนวยการ ได้สั่งการตั้งแต่วันที่เกิดเหตุแล้ว และในส่วนของตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และต้องการทราบข้อเท็จจริงด้วย ในส่วนของผู้เสียชีวิตและญาติๆ ทางผู้อำนวยการโรงพยาบาลก็ได้กำชับให้เข้ามาดูแล โดยรีบมาตั้งแต่วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม ผ่านมา พร้อมมอบเงินเยียวยา ช่วยเหลือเบื้องต้นจำนวนเงิน 10,000 บาท โดยในวันนี้ทางโรงพยาบาลชุมแพก็ได้มาร่วม มอบเงินในการจัดงานค่าทำศพอีกจำนวน 50,000 บาท ซึ่งทางโรงพยาบาลชุมแพได้ติดต่อประสานงาน กับคุณแม่ ผู้เสียชีวิต ว่าทางโรงพยาบาลชุมแพยินดี ดูแล ในทุกด้าน เมื่องานเสร็จเรียบร้อยจะมาคุยกันเรื่องค่าเยียวยา ซึ่งก็รอกันอยู่ว่าทางญาติจะประสานมาภายในวันจันทร์ เทำให้ทราบว่าทางญาติไม่ได้เผาตามกำหนด วันนี้จึงได้เดินทางมา ซึ่งได้ออกมาเป็นข่าวแล้ว แต่ทางโรงพยาบาลชุมแพนั้นมีความตรงไปตรงมาทุกอย่าง ยินดีช่วยเหลือ และไม่ได้เข้าข้างใคร ผิดก็ว่าไปตามผิดถูกก็ว่าไปทำถูก และไม่ได้ปกปิดความเป็นจริงทุกอย่าง และในส่วนของการเยียวยา ในนามของโรงพยาบาล ยินดีเยียวยาผู้ป่วย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการตาม ระเบียบสปสช.กระทรวงสาธารณสุข และม.41 กรณีความเสียหายอันเกิดจากการให้บริการ ทั้งและ ในเรื่องสูญเสียรายได้ที่จำเป็น และเหมาะสมในโอกาสต่อไป
ขณะที่ นางระนอง ออมชัยภูมิ อายุ 59 ปี แม่ผู้ตายกล่าวว่า ยังทำใจไม่ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตอนนี้ยังคิดอะไรไม่ออก จึงพูดอะไรไม่ได้ในตอนนี้ ส่วนในตอนเย็นวันนี้ก็จะมีการพูดคุยกับบรรดาครอบครัว พูดถึงเรื่องค่าเยียวยา กับผู้ละเมิดและทางโรงพยาบาลชุมแพ เพราะต้องรอให้ หัวหน้าป่าไม้ ที่จะเดินทางมาจากจังหวัดอุบล ในวันพรุ่งนี้ซึ่งก็จะได้ข้อสรุป กัน เพราะจะได้ทำการฌาปนกิจศพ ผู้เสียชีวิต ต่อไป
สำหรับเหตุการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาลชุมแพผู้ป่วยชาย ชื่อนายเกริกฤทธิ์ ออมชัยภูมิ อายุ 39 ปี โรคประจำตัว โรคจิตเภท รักษาโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 มาห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแพ ด้วยอาการหงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ 4 วันก่อนมา ได้เจาะเลือด ระหว่างรอผล มีอาการเอะอะโวยวายมากขึ้น ได้ฉีดยานอนหลับ ยาระงับอาการทางจิต ปรึกษาจิตแพทย์ประจำโรงพยาบาล ได้เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชายและจิตเวช วันที่ 19 มีนาคม 2567 ผู้ป่วยมีอาการสงบ นอนหลับได้ดี มีการรักษาด้วยการให้ยาฉีดเป็นระยะ และการให้ออกซิเจนวันที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 18.00 น. ผู้ป่วยเริ่มมีพฤติกรรมเดินวนไปวนมา เวลา 20.00 น. บิดาพยายามพาผู้ป่วยกลับมานอนที่เตียง แต่ผู้ป่วยปฏิเสธ ขัดขืน พยาบาลประเมินเห็นควรทำการผูกยึด แต่บิดาของผู้ป่วยปฏิเสธ เวลา 22.00 น. คนไข้อาการเอะอะโวยวาย พฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น ญาติยินยอมให้ผูกยึด จึงได้จัดทีมจนท.เข้าผูกยึดผู้ป่วย ประกอบด้วย เวรเปล 2 ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 1 และ รปภ. 1 คน หลังจากผูกยึดเสร็จ คนไข้ไม่มีสัญญาณชีพ จึงได้เริ่มทำการ CPR.
กรณีที่ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมแพ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง กรณีหนุ่มสายตรวจป่าไม้ ผู้ป่วยจิตเวช ช็อกเสียชีวิต ขณะถูก รปภ.และผู้ช่วยพยาบาล จับล็อคมัดกับเตียงคนไข้ หลังญาติทราบผลชันสูตรโดนเข่ากดทับทรวงอกจนขาดอากาศหายใจ ก่อนแจ้งความเอาผิด
เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่อยู่ 134 หมู่ 11 บ้านหนองบัวพรม ต.หนองคอนไทย อ.ภูเขียว จ. ชัยภูมิ นายสนอง มะลัยขวัญ นายอำเภอภูเขียว จ.ชัยภูมิ ได้นำพวงหรีดของนายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เคารพศพร่วมแสดงความเสียใจและไว้อาลัยแก่ นายเกริกฤทธิ์ ออมชัยภูมิ อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 134 หมู่ 11 บ้านหนองบัวพรหม ต.หนองคอนไทย อ.ภูเขียวจ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สายตรวจเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก -ยอดมน ต.คอแลนด์ อ.บุณฑริกจ.อุบลราชธานี และเป็นผู้ป่วยจิตเวช ช็อกเสียชีวิตขณะถูก รปภ.และผู้ช่วยพยาบาล จับล็อคมัดกับเตียงคนไข้ หลังญาติทราบผลชันสูตรโดนเข่ากดทับทรวงอกจนขาดอากาศหายใจ ก่อนแจ้งความเอาผิด โดยมี พญ.จารุพรรณ มโนสิทธิศักดิ์ ผอ.รพ.ชุมแพ พร้อมด้วย นายสรวิศ ม่วงมิตร รองผอ.ฝ่ายบริหาร รพ.ชุมแพ คณะผู้บริหาร แพทย์และพยาบาล ร่วมแสดงเคารพศพ และแสดงความเสียไว้อาลัย
กรณีที่ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมแพ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง กรณีหนุ่มสายตรวจป่าไม้ ผู้ป่วยจิตเวช ช็อกเสียชีวิต ขณะถูก รปภ.และผู้ช่วยพยาบาล จับล็อคมัดกับเตียงคนไข้ หลังญาติทราบผลชันสูตรโดนเข่ากดทับทรวงอกจนขาดอากาศหายใจ ก่อนแจ้งความเอาผิด
นายสนอง มะลัยขวัญ นายอำเภอภูเขียว จ.ชัยภูมิ กล่าวว่า ถือว่าให้เป็นสิทธิ์ของผู้ที่ถูกกระทำ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่ามีกรอบอะไรบ้าง และสามารถเอามาช่วยเหลือกัน และเอาสิทธิ์ตรงนั้นมาช่วยเยียวยากับครอบครัว ของผู้ที่เสียชีวิต ให้ได้เต็มที่โดยตรงไปตรงมา ในสิทธิที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ. มาตรา 41 และของกระทรวงยุติธรรมที่สามารถจะช่วยเยียวยาเขาได้ เอามาช่วยกันทุกฝ่าย ส่วนเมื่อตอนเช้าก็มีกองบังคับคดีเข้ามาดูในส่วน ของผู้ถูกกระทำ และผู้ละเมิด ว่าเราจะสามารถช่วยกันได้อย่างไร ให้สองฝ่ายมาคุยกันเพื่อความสบายใจ ซึ่งก็น่าจะได้ข้อยุติ และก็จะได้ประสานทางโรงพยาบาลชุมแพได้เข้ามาคอยดูแลเขาอยู่เรื่อยๆ
ด้านนายสรวิศ ม่วงมิตร รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร รพ.ชุมแพ กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลชุมแพ โดย พญ.จารุพรรณ มโนสิทธิศักดิ์ ผอ.รพ.ชุมแพ ได้มอบหมายให้ตน ในนามฝ่ายบริหารได้เข้ามาดูแล ในกรณีที่เกิดเหตุขึ้นในครั้งนี้ เบื้องต้นท่านผู้อำนวยการ ได้สั่งการตั้งแต่วันที่เกิดเหตุแล้ว และในส่วนของตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และต้องการทราบข้อเท็จจริงด้วย ในส่วนของผู้เสียชีวิตและญาติๆ ทางผู้อำนวยการโรงพยาบาลก็ได้กำชับให้เข้ามาดูแล โดยรีบมาตั้งแต่วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม ผ่านมา พร้อมมอบเงินเยียวยา ช่วยเหลือเบื้องต้นจำนวนเงิน 10,000 บาท โดยในวันนี้ทางโรงพยาบาลชุมแพก็ได้มาร่วม มอบเงินในการจัดงานค่าทำศพอีกจำนวน 50,000 บาท ซึ่งทางโรงพยาบาลชุมแพได้ติดต่อประสานงาน กับคุณแม่ ผู้เสียชีวิต ว่าทางโรงพยาบาลชุมแพยินดี ดูแล ในทุกด้าน เมื่องานเสร็จเรียบร้อยจะมาคุยกันเรื่องค่าเยียวยา ซึ่งก็รอกันอยู่ว่าทางญาติจะประสานมาภายในวันจันทร์ เทำให้ทราบว่าทางญาติไม่ได้เผาตามกำหนด วันนี้จึงได้เดินทางมา ซึ่งได้ออกมาเป็นข่าวแล้ว แต่ทางโรงพยาบาลชุมแพนั้นมีความตรงไปตรงมาทุกอย่าง ยินดีช่วยเหลือ และไม่ได้เข้าข้างใคร ผิดก็ว่าไปตามผิดถูกก็ว่าไปทำถูก และไม่ได้ปกปิดความเป็นจริงทุกอย่าง และในส่วนของการเยียวยา ในนามของโรงพยาบาล ยินดีเยียวยาผู้ป่วย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการตาม ระเบียบสปสช.กระทรวงสาธารณสุข และม.41 กรณีความเสียหายอันเกิดจากการให้บริการ ทั้งและ ในเรื่องสูญเสียรายได้ที่จำเป็น และเหมาะสมในโอกาสต่อไป
ขณะที่นางระนอง ออมชัยภูมิอายุ 59 ปี แม่ผู้ตายกล่าวว่า ยังทำใจไม่ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตอนนี้ยังคิดอะไรไม่ออก จึงพูดอะไรไม่ได้ในตอนนี้ ส่วนในตอนเย็นวันนี้ก็จะมีการพูดคุยกับบรรดาครอบครัวพูดถึงเรื่องค่าเยียวยา กับผู้ละเมิดและทางโรงพยาบาลชุมแพ เพราะต้องรอให้ หัวหน้าป่าไม้ ที่จะเดินทางมาจากจังหวัดอุบล ในวันพรุ่งนี้ซึ่งก็จะได้ข้อสรุป กัน เพราะจะได้ทำการฌาปนกิจศพ ผู้เสียชีวิต ต่อไป
สำหรับเหตุการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาลชุมแพผู้ป่วยชาย ชื่อนายเกริกฤทธิ์ ออมชัยภูมิ อายุ 39 ปี โรคประจำตัว โรคจิตเภท รักษาโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 มาห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแพ ด้วยอาการหงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ 4 วันก่อนมา ได้เจาะเลือด ระหว่างรอผล มีอาการเอะอะโวยวายมากขึ้น ได้ฉีดยานอนหลับ ยาระงับอาการทางจิต ปรึกษาจิตแพทย์ประจำโรงพยาบาล ได้เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชายและจิตเวช วันที่ 19 มีนาคม 2567 ผู้ป่วยมีอาการสงบ นอนหลับได้ดี มีการรักษาด้วยการให้ยาฉีดเป็นระยะ และการให้ออกซิเจนวันที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 18.00 น. ผู้ป่วยเริ่มมีพฤติกรรมเดินวนไปวนมา เวลา 20.00 น. บิดาพยายามพาผู้ป่วยกลับมานอนที่เตียง แต่ผู้ป่วยปฏิเสธ ขัดขืน พยาบาลประเมินเห็นควรทำการผูกยึด แต่บิดาของผู้ป่วยปฏิเสธ เวลา 22.00 น. คนไข้อาการเอะอะโวยวาย พฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น ญาติยินยอมให้ผูกยึด จึงได้จัดทีมจนท.เข้าผูกยึดผู้ป่วย ประกอบด้วย เวรเปล 2 ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 1 และ รปภ. 1 คน หลังจากผูกยึดเสร็จ คนไข้ไม่มีสัญญาณชีพ จึงได้เริ่มทำการ CPR.