“บิ๊กทิน รมว กลาโหม “ลงพื้นที่ขอนแก่น ติดตามการปิดกั้นมวลน้ำ หลังฝายห้วยสายบาตรขาด ทหารเร่งช่วยเหลือ

“บิ๊กทิน รมว กลาโหม “ลงพื้นที่ขอนแก่น ติดตามการปิดกั้นมวลน้ำ หลังฝายห้วยสายบาตรขาด ทหารเร่งช่วยเหลือ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ลงพื้นที่ติดตามการปิดกั้นมวลน้ำจากหนองเลิงใหญ่ ที่ไหลทะลักผ่านฝายห้วยสายบาตรที่ขาดกว้างกว่า 20 เมตร ล่าสุดเจ้าหน้าที่สามารถปิดกั้นมวลน้ำไว้ได้แล้ว พบน้ำเหลือกักเก็บในอ่างราว 1 ล้าน ลบ.เมตร เริ่มส่งผลกระทบกับน้ำต้นทุนผลิตประปา 2 ตำบล ย้ำแม้การดูแลรักษาจะเป็นของท้องถิ่น แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินทุกหน่วยงานต้องดูแลช่วยกัน
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าในการสร้างแนวป้องกันมวลน้ำจากหนองเลิงใหญ่ ในพื้นที่ ต.โคกสี อ.เมืองขอนแก่น ที่ไหลกัดเซาะฝายห้วยสายบาตร ซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2549 ขาดกว้างกว่า 20 เมตร ส่งผลให้น้ำจากหนองเลิงใหญ่ไหลทะลักลงสู่ห้วยสายบาตร อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยมีนายยุทธพร พิรุณสาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายชินกร แก่นคง นายอำเภอเมืองขอนแก่น พันเอก จตุพงษ์ พลเสน ผบ.พัน.มทบ.23 ค่ายศรีพัชรินทร จ.ขอนแก่น ให้การต้อนรับและรายงานความคืบหน้าในการสร้างแนวป้องกันและซ่อมซ่อมฝายในระยะเร่งด่วน โดยล่าสุด เจ้าหน้าที่ฯ สามารถทำการป้องกันมวลน้ำจากหนองเลิงใหญ่ไม่ให้ลงสู่ห้วยสายบาตรได้แล้ว หลังจากที่ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงาน เข้าดำเนินการ พร้อมกับนำรถแบ็คโฮ จำนวน 2 คัน จากสำนักงานชลประทานที่ 6 เข้ามาขุดลอกและสร้างแนวทำนบดินปิดกั้นไม่ให้น้ำไหลออกจากหนองเลิงใหญ่ได้สำเร็จ ก่อนจะใช่รถแบ็คโฮทยอยนำกล่องหินเเกรเบี้ยนวางเป็นกำแพงป้องกันและอุดช่องที่ตัวฝายชำรุดเสียหาย ซึ่งขณะนี้ได้มีการวางแผนการแก้ไขซ่อมแซมเป็น 3 ระยะ ระยะแรกซึ่งเป็นระยะเร่งด่วน คือ การนำกำลังทหารและเครื่องจักรจากสำนักงานชลประทานที่ 6 เข้ามาขุดดินเป็นทำนบกั้นน้ำเอาไว้ ไม่ให้ไหลออกไปมากกว่านี้ ระยะที่ 2 ที่กำลังดำเนินการอยู่ในเวลานี้คือการทำคันคูหรือฝายชั่วคราว เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนปีนี้เอาไว้ได้ และระยะที่ 3เป็นแผนในช่วงผ่านพ้นฤดูฝนไปแล้ว โดยจะมีการซ่อมแซมฝายฯ ใหม่ให้มีความมั่นคงแข็งแรง ในอนาคตอาจจะต้องเปลี่ยนรูปแบบของฝายเป็นลักษณะประตูเปิดปิดเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ต้องสูญเสียน้ำในหนองเลิงใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคของราษฎรในพื้นที่ไปครึ่งหนึ่ง แต่ยังโชคดีที่ไม่มีพื้นที่บ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรที่ถูกน้ำท่วม


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสืบเนื่องเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 67 เวลา 17.00 น.ศบภ.มทบ.23 ได้รับแจ้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ว่ามีน้ำไหลกัดเซาะฝายห้วยสายบาตรขาด ส่งผลให้น้ำจากหนองเลิงใหญ่ไหลทะลักลงสู่ห้วยสายบาตรอย่างต่อเนื่องและคาดว่าจะขยายวงกว้างจนทำให้ปริมาณน้ำในหนองเลิงใหญ่ลดลงอย่างต่อเนื่อง พลตรี กิตติพงษ์ เนื่องชมภู ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 23 /ผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 23 สั่งการให้ ผู้บังคับกองพันมณฑลทหารบกที่ 23 ซึ่งเป็นกองพันประจำอำเภอ จัดชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วเข้าตรวจสอบและให้การช่วยเหลือ พบว่ามีการแตกเป็นวงกว้างประมาณ 20 เมตร จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหนักในการเร่งซ่อมแซมจึงได้ประสานความกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจังหวัดขอนแก่น อบจ.ขอนแก่น สำนักงานชลประทานที่ 6 และปภ.เขต 6 เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา นายยุทธพร พิรุณสาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายชินกร แก่นคง นายอำเภอเมืองขอนแก่น พันเอก จตุพงษ์ พลเสน ผู้บังคับกองพันมณฑลทหารบกที่ 23 นายจิรศักดิ์ มงคลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย สำนักงานชลประทานที่ 6 -นายธนาศักดิ์ ร้อยพา นายก อบต.โคกสี เข้าตรวจพื้นที่ วางแผนการทำคันดินกั้นน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำในหนองเลิงใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำประปาของประชาชน 5 หมู่บ้านใน 2 ตำบล โดยได้นำรถแบ็คโฮ จำนวน 2 คัน จากสำนักงานชลประทานที่ 6 ขอนแก่น เข้ามาขุดลอกและสร้างแนวทำนบดินปิดกั้นไม่ให้น้ำไหลออกจากหนองเลิงใหญ่ ซึ่งมีกำลังทหารจิตอาสาพระราชทานจากศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มณฑลทหารบกที่ 23 และกำลังหน่วยงานต่างๆ รวมกันบรรจุถุงตาข่าย กล่องบรรจุหินเกรเบี้ยน จากนั้นใช่รถแบ็คโฮทยอยนำกล่องหินกินเกรเบี้ยน ยกนำไปวางเป็นกำแพงอุดช่องที่ตัวฝายชำรุดเสียหาย


ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 67 เวลา 21.00 น. นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าในการสร้างแนวป้องกันมวลน้ำจากหนองเลิงใหญ่ โดยมี ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 23 และหน่าวยราชการที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า จากการรายงานรายงานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทราบว่า ฝายห้วยสายบาตร มีการก่อสร้างและใช้งานมานานเกือบ 20 ปีตั้งแต่ปี 2549 ทำให้เกิดการชำรุดเสียหายตามกาลเวลา ส่วนสาเหตุเนื่องจากมีฝนตกสะสม ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ทำให้ปริมาณน้ำไหลล้นผ่านอาคารฝ่ายน้ำล้น ซึ่งเป็นแบบฝายสันกว้าง แล้วเกิดการกัดเซาะจนพังลง กว้างประมาณ 20 เมตร ทั้งนี้สาเหตุเบื้องต้น น่าจะเกิดจากอายุการใช้งานอาคารมานาน เกิดการกัดเซาะภายใต้อาคารต่อเนื่อง
ขณะนี้ได้มีการวางแผน การแก้ไขซ่อมแซมเป็น 3 ระยะ โดยในระยะแรกซึ่งเป็นระยะเร่งด่วน คือ การนำกำลังทหารและเครื่องจักรกล จากสำนักงานชลประทานที่ 6 เข้ามาขุดดินเป็นทำนบกั้นน้ำเอาไว้ ไม่ให้ไหลออกไปมากกว่านี้ ระยะที่ 2 ที่กำลังดำเนินการอยู่ในเวลานี้คือการทำคันคูหรือฝายชั่วคราว เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนปีนี้ และระยะที่ 3 เป็นแผนในช่วงผ่านพ้นฤดูฝนไปแล้ว โดยจะมีการซ่อมแซมฝายฯ ใหม่ ให้มีความมั่นคงแข็งแรง โดยจะต้องอาศัยงบประมาณจากกรมชลประทาน และจะต้องมีการออกแบบตัวฝายใหม่ให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เพราะขณะนี้โครงสร้างของฝายฯ เปลี่ยนไปแล้ว ในอนาคตอาจจะต้องเปลี่ยนรูปแบบของฝาย เป็นลักษณะประตูเปิด-ปิด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน
ซึ่งจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ต้องสูญเสียน้ำในหนองเลิงใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภคของราษฎรในพื้นที่ไป แต่ยังโชคดีที่ไม่มีพื้นที่บ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบถูกน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตัวฝายที่มีการก่อสร้างโดยกรมชลประทาน และได้ส่งมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลรักษา ก็ไม่ใช่ปัญหาและอุปสรรค ในการที่จะเข้ามาทำฝายใหม่ เพราะเมื่อเกิดเหตุที่เกินกำลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต้องดูแลรับผิดชอบช่วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปัจจุบัน ได้มีการตั้งคณะกรรมการที่ต้องดูแลในเรื่องปัญหาอุทกภัยของรัฐบาลขึ้นมา จึงต้องมีการบูรณาการร่วมกันทุกกระทรวง
จากข้อมูลพบว่าขนาดความจุของน้ำหนองเลิงใหญ่ สามารถบรรจุได้ประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้มีน้ำในอ่างประมาณ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร เริ่มส่งผลกระทบกับน้ำต้นทุนผลิตประปาหมู่บ้านในเขตตำบลโคกสี อำเภอเมืองขอนแก่น และตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคามบ้างแล้ว.



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น