“อบจ.ขอนแก่น”ส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีประมงเชื่อมโยงอัตลักษณ์อุทยานธรณีขอนแก่น
หมู่บ้านโนนกระเดา ต.นาหว้า อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานธรณีขอนแก่น ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้านธรณีวิทยาที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งถูกปกคลุมด้วยตะกอนทางน้ำ และก้อนศิลาแลงด้านบนผิวดิน โดยมีหินตะกอนของหมวดหินน้ำพองเป็นหินฐานด้านล่าง จึงทำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ทำหน้าที่รับน้ำจากฝั่งตะวันตกของอุทยานธรณีขอนแก่น เอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้เอง ที่ทำให้ชุมชนมีวัฒนธรรมการดำรงชีวิตแบบวิถีชาวประมง และประกอบอาหารจากสัตว์น้ำและพืชพันธุ์ท้องถิ่นเป็นหลัก
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า ที่ หมู่บ้านโนนกระเดา ตำนาหว้า อำภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ดร.พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้ นายธาดา พรหมสาขา ณ สกลนคร รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยว Gastronomy วิถีประมงเชื่อมโยงอัตลักษณ์อุทยานธรณีขอนแก่น จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในการนี้นางสุวรรณา วรรณศรี นายอำเภอภูเวียง กล่าวต้อนรับตลอดจน นายธนะพงค์ อุ่นพันธ์หริ่ม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า กล่าวรายงาน ในโอกาสนี้มีผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดกุ้งใหญ่และการประกวดการประกอบและสร้างสรรค์อาหารจากวัตถุดิบท้องถิ่น พร้อมด้วยผศ.ดร.วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณีที่มีบทบาทช่วยขับเคลื่อนอุทยานธรณีขอนแก่นสู่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก,นายสมศักดิ์ ทองพลุ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดขอนแก่น พัฒนาการอำเภอภูเวียง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ อบจ.ขอนแก่น เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธี
นายธนะพงค์ อุ่นพันธ์หริ่ม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า กล่าวรายงานว่า ที่หมู่บ้านโนนกระเดา ตำบลนาหว้า อำภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานธรณีขอนแก่น ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้านธรณีวิทยาที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและถูกปกคลุมด้วยตะกอนทางน้ำและก้อนศิลาแลงด้านบนผิวดิน โดยมีหินตะกอนของหมวดหินน้ำพองเป็นหินฐานด้านล่าง จึงทำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ทำหน้าที่รับน้ำจากฝั่งตะวันตกของอุทยานธรณีขอนแก่น เอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้เอง ที่ทำให้ชุมชนมีวัฒนธรรมการดำรงชีวิตแบบวิถีชาวประมงและประกอบอาหารจากสัตว์น้ำและพืชพันธุ์ท้องถิ่นเป็นหลัก
นายธนะพงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่าโดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่บริเวณริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำอย่างโดดเด่นทั้งปลา กุ้ง หอย ปู เป็นต้น การส่งเสริมการท่องเที่ยว Gastronomy หรือการท่องเที่ยวเชิงอาหารจะสามารถช่วยสนับสนุนกิจกรรมของอุทยานธรณีขอนแก่นให้มีมิติในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนแนวคิด A-B-C ของอุทยานธรณีได้ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบผสมผสานระหว่างทรัพยากรธรรมชาติแบบกายภาพ (A: Abiotic) แบบชีวภาพ (B: Biotic) และวัฒนธรรม (C: Culture) ของชุมชนตามหลักการของอุทยานธรณีหรือ Geopark
นาย ธาดา พรหมสาขา ณ สกลนคร รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่ากิจกรรมในครั้งนี้มีเป้าหมายส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบ Gastronomy ซึ่งนำเสนอวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านและวัฒนธรรมการประกอบอาหารท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของอุทยานธรณีขอนแก่น ภายในงานยังมีการแข่งขันจับกุ้งแม่น้ำ และการประกวดแข่งขันการประกอบอาหาร ซึ่งเป็นการสื่อถึงวัฒนธรรมและความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น งานครั้งนี้เป็นการร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความตระหนักถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติที่เชื่อมโยงกับอุทยานธรณีขอนแก่น
ในส่วน ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงวิสัยทัศน์คณะเทคโนโลยี มข. คือ “องค์กรชั้นนำในการผลิตนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผลงานวิจัยสู่สังคม”ด้วยคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้จากการวิจัยของคณาจารย์ทางด้านธรณีวิทยาเพื่อสนับสนุนอุทยานธรณีขอนแก่นสู่อุทยานธรณีโลก ของจังหวัดขอนแก่น และองค์ความรู้ทางด้านแปรรูปอาหารในการวิถีประมงของคนในชุมชน .