ขอนแก่น จัดการคัดกรองมะเร็งเต้านม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ

ขอนแก่น จัดการคัดกรองมะเร็งเต้านม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ

30 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 09.00 น. ณ ศาลาประชาคมจังหวัดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น นายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธี เปิดโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมี นายแพทย์อดุลย์ บำรุง รองนายแพทย์สาธาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น , ดร.นายแพทย์อิทธิพล สูงแข็ง ผู้แทนมูลนิธิกาญจนบารมี , สมาชิก อสม. และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน

นายแพทย์อดุลย์ บำรุง รองนายแพทย์สาธาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส 4 หน่วย 4 ภาค ทั่วประเทศ สำหรับจังหวัดขอนแก่น จัดโดยเครือข่ายบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับมูลนิธิกาญจนบารมี
จากข้อมูลของ องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ในแต่ละปีมีผู้หญิงมากกว่า 2.3.3 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งมะเร็งเต้านมนั้น เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งในผู้หญิง และส่งผลกระทบร้ายแรงที่สุดโดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง (low and middle income countries : LMICs)
สำหรับประเทศไทย พบมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศหญิง และเป็นอันดับ 3 ทั้งเพศชายและหญิง โดยพบมะเร็งเต้านมรายใหม่ 22,158 คนต่อปี หรือชั่วโมงละ 2.5 คน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม 8,266 คนต่อปี หรือชั่วโมงละ 0.94 คน
จังหวัดขอนแก่นพบผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยปีละ 400 คน อัตราป่วยสะสมปีปัจจุบัน 3,355 คน ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดในสาเหตุการป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม แต่พบว่าสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนในร่างกาย อายุ ประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมปัจจัยการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม สารเคมี และสิ่งแวดล้อม

การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ให้บริการในพื้นที่ 8 อำเภอ มี อ.เมืองขอนแก่น อ.ซำสูง อ.กระนวน อ. เขาสวนกวาง อ.อุบลรัตน์ อ.น้ำพอง อ.บ้านฝางและอ.พระยืน โดย มุ่งหวังที่จะค้นหาผู้ป่วยในระยะแรกเริ่ม และนำเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็ว ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ระยะลุกลาม เพิ่มอัตราการรอดชีพ มากกว่า 5 ปี ลดอัตราการเสียชีวิต ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมทั้งสามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (Conservative Breast Therapy หรือ CBT) ได้
ทั้งนี้ ภายในงาน มีกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม ได้แก่ 1. การเพิ่มความความตระหนักรู้ และสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ให้ผู้เข้าร่วมงาน 2. การตรวจเต้านมโดยบุคลากรทางการแพทย์ 3. การตรวจเต้านมโดยการ Ultrasound และการตรวจโดยเครื่องเอกซเรย์ต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยการจัดกิจกรรมในวันนี้ ได้รับการสนับสนุนแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางสาธารณสุข จากโรงพยาบาลขอนแก่น , ศูนย์อนามัยที่ 7 จังหวัดขอนแก่น , สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น , โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น