“คณะนิติฯ มข.”จับมือ “กองบังคับการสืบสวนสอบสวนภาค 4” เปิดพื้นที่การเรียนรู้ปฏิบัติจริง สร้างนักกฎหมายที่มีทักษะวิชาชีพในสายงานตำรวจ

“คณะนิติฯ มข.”จับมือ “กองบังคับการสืบสวนสอบสวนภาค 4” เปิดพื้นที่การเรียนรู้ปฏิบัติจริง สร้างนักกฎหมายที่มีทักษะวิชาชีพในสายงานตำรวจ

การจัดทำบันทึกความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาและสร้างรายวิชาหรือชุดวิชาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักนิติธรรมกับการบังคับใช้กฎหมาย  และการบริหารงานตำรวจยุคใหม่ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาพัฒนา  และสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับนักกฎหมาย และสร้างความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย การบริการวิชาการ การติดตามและประเมินผล รวมถึงงานทางวิชาการอื่น ๆโครงการดังกล่าวเป็นการประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษานิติศาสตร์ เพื่อการเปลี่ยนแปลง


เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแกาน รายงานว่า คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โดย รองศาสตราจารย์วนิดา แสงสารพันธ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มข.ร่วมกับ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 4 โดย พล.ต.ต.นพเก้า โสมนัส ผู้บังคับการ  กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4 จัดทำบันทึกหลักการความร่วมมือทางวิชาการ   เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาและเพิ่มพูนทักษะ มุ่งสร้างพื้นที่การเรียนรู้จากการปฏิบัติการจริง  สู่ผลลัพธ์ในการผลิตนักกฎหมายที่มีทักษะวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย (Legal Specialists in Law Enforcement) พร้อมด้วยอาจารย์บุษกร ปราบ ณ ศักดิ์ ไทยเสถียร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และ พ.ต.อ.วิโรจน์ สีน้ำเงิน รองผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4  ร่วมเป็นพยานในพิธีลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อร่วมพัฒนาทักษะทางวิชาชีพให้แก่นักศึกษา ให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักนิติธรรมกับการบังคับใช้กฎหมาย และการบริหารงานตำรวจยุคใหม่ ที่ ห้องประดิษฐ์มนูธรรม  2 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา


รองศาสตราจารย์วนิดา แสงสารพันธ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มข. กล่าวว่า การจัดทำบันทึกความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาและสร้างรายวิชาหรือชุดวิชาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักนิติธรรมกับการบังคับใช้กฎหมาย  และการบริหารงานตำรวจยุคใหม่ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาพัฒนา  และสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับนักกฎหมาย และสร้างความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย การบริการวิชาการ การติดตามและประเมินผล รวมถึงงานทางวิชาการอื่น ๆโครงการดังกล่าวเป็นการประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษานิติศาสตร์ เพื่อการเปลี่ยนแปลง “Legal Education Transformation”
รองศาสตราจารย์วนิดา กล่าวด้วยว่าตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างพื้นที่การเรียนรู้จากการปฏิบัติการจริง (Experiential Learning) มุ่งสร้างนักกฎหมายที่มีทักษะวิชาชีพ “Legal Specialists in Law Enforcement” ผ่านรายวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ซึ่งทางคณะได้มีความร่วมมือในการบูรณาการรายวิชาร่วมกัน เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในสายงานตำรวจตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 และปีการศึกษา 2567 จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 60 คน ภายใต้โครงการ Young Lawyers and Police Engagement Project   ซึ่งเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ทักษะวิชาชีพในสายงานตำรวจให้กับนักศึกษาของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้จะมีการสร้างหลักสูตรอบรมร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาทักษะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการพัฒนางานวิจัย และการบริการวิชาการต่อไป.



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น