“สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครู มข”จัดเปิดชั้นเรียนระดับชาติ

“สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครู มข”จัดเปิดชั้นเรียนระดับชาติ


การเปิดชั้นเรียนระดับชาติครั้งที่ 18 นี้ สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการยกระดับคุณภาพการศึกษาที่ลงลึกถึงระดับห้องเรียน ผ่านนวัตกรรม TLSOA (Thailand Lesson Study incorporated with Open Approach) ซึ่งได้พิสูจน์ความสำเร็จจากการขยายผลไปแล้วกว่า 300 โรงเรียนทั่วประเทศ นวัตกรรมนี้ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 15 ปี โดยศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 และสร้างสมรรถนะสำคัญให้กับผู้เรียน ทั้งด้านการคิดขั้นสูงและการสื่อสาร”
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่นสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีเปิดงาน “การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ (National Open Class) ครั้งที่ 18” โดยมี นายประจวบ รักแพทย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย รองประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมปาฐกถาพิเศษ ในการนี้มีรองศาสตราจารย์ ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา นายกสมาคมคณิตศาสตรศึกษา,ผศ.ดร.พงศ์ธนัช แซ่จู ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ,ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมงานทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online รวมกว่า 600 คน


ผศ.ดร.พงศ์ธนัช แซ่จู ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน กล่าวว่า “การเปิดชั้นเรียนระดับชาติครั้งที่ 18 นี้ สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการยกระดับคุณภาพการศึกษาที่ลงลึกถึงระดับห้องเรียน ผ่านนวัตกรรม TLSOA (Thailand Lesson Study incorporated with Open Approach) ซึ่งได้พิสูจน์ความสำเร็จจากการขยายผลไปแล้วกว่า 300 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัดขอนแก่นที่มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการพัฒนาตนเอง (TSQP) จำนวน 52 โรงเรียน และแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนทั้งในระดับโรงเรียน ครู และนักเรียน นวัตกรรมนี้ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 15 ปี โดยศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 และสร้างสมรรถนะสำคัญให้กับผู้เรียน ทั้งด้านการคิดขั้นสูงและการสื่อสาร”
ด้าน รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา นายกสมาคมคณิตศาสตรศึกษา กล่าวว่า การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 18 จัดในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) ทั้ง Onsite และ Online ด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ, สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน, ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สมาคมคณิตศาสตรศึกษา, มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด,มูลนิธิพุทธรักษา และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)


“การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ เป็นกระบวนการที่ไม่ใช่เพียงครูผู้สอนขับเคลื่อนชั้นเรียนเอง แต่ทั้งผู้อำนวยการ ครูจากกลุ่มสาระวิชาหรือระดับชั้นอื่น ศึกษานิเทศก์ หรือบุคลากรส่วนอื่นสามารถร่วมสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ โดยเน้นพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียน พัฒนาการใช้ห้องเรียนจริง เน้นการเรียนรู้ร่วมกันของครูและบุคลากรทุกระดับเพื่อทำความเข้าใจและยอมรับแนวคิดของนักเรียน และเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนา เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชั้นเรียนให้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การผลิต Smart people อันเป็นรากฐานสำคัญของ Smart city”
ส่วน รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย รองประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในปาฐกถาพิเศษว่า “นวัตกรรม TLSOA ถือเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่สามารถพัฒนาระบบการศึกษาที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจบนพื้นฐานของการคิดขั้นสูง (Higher-order Thinking) ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยี การจัดงานครั้งนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แต่ยังเป็นการขยายผลนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศในระยะยาว ที่สำคัญ ยังนำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ที่จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างยั่งยืน”
นอกจากนี้ รศ.ดร.กิตติชัย ได้ระบุว่า หลักสูตรต้อง focus เฉพาะทางให้มากขึ้น ด้านการเรียนการสอน ต้องผสมผสานหลายๆวิธีเข้าด้วยกัน เพราะจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น ต้องสร้างความสนุก เพราะจะทำให้ เกิดการจดจำได้นานขึ้น กิจกรรมการเรียนต้องสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาเข้ากับชีวิตจริง การสอนผ่านกิจกรรมและการลงมือทำ Hand on Learning ต้องกระตุ้นให้เด็กถามและคิดเอง ขณะเดียวกันต้อง กระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศการเรียนที่ผ่อนคลายและเป็นมิตร.



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น