เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ที่โรงแรมอวานี ขอนแก่นโฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดโครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเนื่องในโอกาสที่ครบ 50 ปีของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเป้าหมายของโครงการครั้งนี้เพื่อนำองค์ความรู้ที่เกิดจากการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมประเด็นที่สำคัญคือ ปัญหาสาธารณสุขปัญหาการศึกษาปัญหาความยากจนประกอบ ด้วยโครงการ 3 โครงการ คือโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง โดยในปีงบประมาณ 2560 ได้ดำเนินโครงการด้านสารธารณสุขเพิ่มอีกหนึ่งโครงการ คือโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้เพื่อการบูรณาการและการน้อมนำศาสตร์ของพระราชาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา ประกอบกับนโยบายของชาติในปัจจุบันได้มีการได้มีการส่งเสริมสนับสนุนอย่างจริงจังในแต่ละโครงการย่อยและรวมทั้งยังมีการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้การดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิดมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันก็คือเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำ ดังนั้นเพื่อเป็นการนำเสนอผลงานการวิจัยและพัฒนา การดำเนินงานจัดเป็นเวทีแลกแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักวิชาการ นักวิจัยนักพัฒนา ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีบทบาทในการสร้างกระบวนการเรียนรู้การแก้ไขปัญหาการพัฒนาร่วมกับชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และความคาดหวังของสังคมที่จะให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้ที่จะนำพาและชี้นำ สังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาที่ดีขึ้น มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยสถาบันยุทธศาสตร์และประสานงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือในฐานะหน่วยงานกลาง จึงได้จัดการประชุมวิชาการภายใต้หัวข้อการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม จากการวิจัยสู่นวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและขยายผลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้รวมทั้งการระดมความคิดเห็นจากนักวิจัย นักวิชาการ ตลอดจนภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียที่จะนำพาชุมชนสู่ความเข้มแข็งต่อไป ในงานมีองค์กรท้องถิ่น ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ตลอดจนที่ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน