ศธจ.ขอนแก่น ประชุมวิชาการ มอนเตสซอริ ครูทั่วภาคอีสาน “ เปิดโลกทัศน์ นวัตกรรม มุ่งมั่นบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ”
ศึกษาธิการ จ.ขอนแก่น จัดสัมมนาการ “มอนเตสซอริ” การศึกษาระดับปฐมวัย เตรียมความพร้อมที่จะพัฒนาต่อยอดได้ในวัยที่สูงขึ้นต่อไป เน้นการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของพลเมืองแบบยั่งยืน
เมื่อเวลา 10.30 น วันที่ 27 ส.ค.ที่ ศูนย์ประชุมนานาชาติจังหวัดขอนแก่น (kice khonkaen International convention and exhibition Center) ดรสมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด การสัมมนาวิชาการ Montessori Conference Thailand 2018 reshaping education for Sustainable word มอนเตสซอริ โดยมี นางสุกัญญา งามบรรจง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( กพฐ.) ดร.พงษ์ศักดิ์. ตั้งวานิชกพงษ์ นายก อบจ.ขอนแก่น ดร.เชิดศักดิ์ ศรีสง่าชัย ศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 1 ดร.อนุศาสตร์ สอนศิลพงศ์ ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 2 ดร.ศุภสิน ภูศรีโสม ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 3 ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและนักเรียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2,000 คน ร่วมงาน
ดร.เชิดศักดิ์ ศรีสง่าชัย ศึกษาธิการ จ.ขอนแก่น กล่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้ศึกษาธิการจังหวัดเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลประสานงานรับผิดชอบการจัดการศึกษาปฐมวัยตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล 1 ถึงระดับชั้นอนุบาล 3 (อายุ 3-5 ปี) และจัดทำมาตรฐานผู้เรียน ครู สถานศึกษา และผู้บริหารเพื่อประกันคุณภาพ ให้แก่เด็กปฐมวัยทุกสังกัด สามารถปฏิบัติงาน ด้านการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ได้ดำเนินการประสานงานจนสำเร็จอย่างงดงามเป็นการประสานงาน ที่สามารถนำผู้จัดการศึกษาระดับปฐมวัยจากหน่วยงาน ทั้งภาคเอกชนท้องถิ่นและโรงเรียนของรัฐ มาร่วมกันนำเสนอการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยได้อย่างยิ่งใหญ่ “มอนเตสซอริ”มีหลักในการสอนที่ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยเริ่มตั้งแต่ การเลือกเรื่องที่จะเรียน เลือกอุปกรณ์เอง สถานที่หรือมุมที่จะใช้ในการเรียนเองมีอิสระ ในการเคลื่อนย้าย และพูดคุย กับเพื่อนหรือครูได้
ดร.เชิดศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้จะต้องอยู่ในขอบเขตที่ว่า ไม่รบกวนผู้อื่นและไม่ทำลายของให้เสียหาย สิ่งที่เด็กจะได้รับ จากหลักการสอนนี้คือ เด็กมีโอกาส เป็นตัวของตัวเองมีโอกาสได้คิดเองทำเองซึ่งส่งเสริม ให้เด็กรู้จักไตร่ตรองและหาเหตุผลและสามารถเลือกทางประพฤติปฏิบัติได้เองอย่างถูกต้องการศึกษาในระบบ ของหมดเร็ว การศึกษาในระบบ “มอนเตสซอริ”นอกจากมีจุดมุ่งหวัง ให้เด็กมีการพัฒนาการ และเกิดทักษะ เพิ่งจะติดตัวไปชั่วชีวิตแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันได้อีก ด้วยมีความเชื่อว่าถ้าคนเรามีประสบการณ์ กว้างขวางเกี่ยวกับชีวิตจริง แล้ว ก็จะสามารถ ก่อให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์นอกจากนี้ สิ่งที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ สำหรับเด็ก ในวัยนี้ คือการเรียนรู้ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่พบเห็น จับต้องได้เป็นรูปประธรรม ดังนั้น “มอนเตสซอริ”จึงมีอุปกรณ์ มากมายเป็นสื่อสำหรับเด็ก
ดร.เชิดศักดิ์ กล่าวอีกว่ามีความเชื่อประการหนึ่งว่า การจัดการ ศึกษาระดับปฐมวัย ในรูปแบบ “มอนเตสซอริ” จะเป็นโฉมใหม่ ของการจัดการเรียน การสอน ปฐมวัย ที่สามารถ พัฒนาเด็ก ของเรา ให้สามารถเรียนรู้ ได้อย่างมีความสุข และเติบโต เป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพ อย่างยั่งยืนต่อไป เป็นที่น่ายินดี วันนี้มีทั้งผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติระดับสากลและตัวแทนจากหลายหน่วยงานที่นำผลงานการจัดเรียนการสอนรูปแบบมอนเตสซอริ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอันจะทำให้โรงเรียนหรือครูปฐมวัยได้เป็นแนวทางหรือเทคนิควิธีการ จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ด้านนางสุกัญญา งามบรรจง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( กพฐ.) กล่าวว่า การศึกษาระดับปฐมวัยมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และเป็นการเตรียมพลเมืองดีสู่สังคม เนื่องจากช่วงปฐมวัยจะมีการเจริญเติบโตของทุกด้าน อย่างสมบูรณ์มากที่สุดของชีวิต มีนักการศึกษากล่าวว่า “เด็กปฐมวัยเป็นวัยทองของชีวิต” ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้อง ทุกฝ่าย จึงต้องให้ ความสำคัญกับเด็กปฐมวัยพัฒนาการเด็กให้มีพัฒนาทุกด้านเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล เพื่อให้มีความพร้อมที่จะพัฒนาต่อยอด ได้ในวัยที่สูงขึ้นต่อไปการศึกษารูปแบบมอนเตสซอริเป็นรูปแบบ ที่เหมาะกับการพัฒนา ของเด็ก และใช้ได้กับเด็ก ทุกคน
นางสุกัญญา กล่าวด้วยว่าเนื่องจากหลักการของ “มอนเตสซอริ”ที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้ ได้ แม้ในพื้นที่ที่มีความแตกต่างทางภาษา สังคมและวัฒนธรรม ความยืดหยุ่นและการปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อม ทำให้การศึกษาสามารถตอบโจทย์การศึกษาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยความเชื่อที่ว่า การให้การศึกษา แก่เด็ก ไม่ใช่เป็นการนำความรู้ ไปให้แก่เด็กแต่เป็นการจัดการศึกษาให้สัมพันธ์กับความสามารถและความต้องการ ธรรมชาติของเด็กแต่ละคน โดยสร้างสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และที่สำคัญ คือการสร้างแรงจูงใจ ให้เด็กใฝ่รู้ “มอนเตสซอริ”ไม่ได้เน้นเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการแต่เน้น การเชื่อมโยงร่างกาย จิตใจ และสมอง โดยเรียนรู้ ผ่านการเคลื่อนไหวของตัวเลข แนวทางของ”มอนเตสซอริ” จึงประยุกต์ใช้ได้ กับเด็กทุกกลุ่ม เพราะเป็นวิธีการ ที่ยืดหยุ่น
นางสุกัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เชื่อในหลักการว่า การจัดการศึกษา ระดับ ปฐมวัย เป็นไม้แรกของการเริ่มต้น การเรียนรู้ ถ้าจัดได้อย่างมีคุณภาพ ก็จะส่งผล ต่อไม้ถัดไป และเชื่อว่า “มอนเตสซอริ” สามารถแก้ปัญหา ด้านการจัดการ ศึกษาระดับ ปฐมวัยของประเทศได้ รวมทั้ง ช่วยตอกย้ำ ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญ และให้การสนับสนุน การศึกษามอเตอร์ไซค์ และนโยบาย Thailand 4.0 จึงได้กำหนดการสัมมนาทางวิชาการการจัดการศึกษา ตามแนวคิด “มอนเตสซอริ” ขึ้นโดยมอบหมายให้ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีศักยภาพ และมีความรู้ และมีความพร้อมสูงในการจัดการ การศึกษารูปแบบ “มอนเตสซอริ” เป็นเจ้าภาพในการสัมมนาครั้งนี้