10 ตุลาคม 2561 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น รศ.ดร.วิเชียร ฝอยพิกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ นครราชสีมา ได้กล่าว่า โครงการ ศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯหนองคาย แที่มาของโครงการโครงการรถไฟความเร็วสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือกรุงเทพ หนองคายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งไทยพ.ศ 2558 ถึง 2565 มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคอาเซียนและสาธารณประชาชนจีนเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ One Belt One Road เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การสร้างประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาครวมทั้งสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ eec
โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯหนองคายมีระยะทาง 608 กม เริ่มดำเนินการปี 2561 กำหนดเปิดใช้งานปี 2565 แบ่งเป็น 2 ระยะระยะที่ 1 กรุงเทพฯ นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม มีจำนวน 6 สถานีได้แก่บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรีปากช่องและนครราชสีมา ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ นครราชีมา มีระยะทาง 253 กม ใจำนวน 6 สถานี ใช้เวลาเดินทาง 1.30 ชม ใช้งบประมาณ 179’413 ลบ มีผลตอบแทนเศรษฐกิจ 11.68 % โดยรัฐบาลไทย รับผิดชอบงานโยธา กว่า 70 % ส่วนรัฐบาลจีน รรับผิดชอบระบบรางและตัวรถไฟ ส่วนระยะที่ 2 นครราชสีมา หนองคาย ระยะทาง 355 กม จำนวน 5 สถานีได้แก่บัวใหญ่ บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรและหนองคาย วัตถุประสงค์ ของการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของพื้นที่ที่รถไฟ มี่วิ่งผ่านของจังหวัดประกอบด้วยอยุธยา สระบุรี โคราช ขอนแก่น อุดรธานีหนองคาย เพื่อศึกษาผลกระทบด้านการก่อสร้างและบริหารทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อศึกษาผลกระทบด้านการค้าการลงทุนที่มีผลต่อการเพิ่มโอกาสและขยายตัวด้านเศรษฐกิจ เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อการท่องเที่ยวบริการและขยายตัวของการใช้พื้นที่ และเพื่อศึกษาผลกระทบทางการเคลื่อนย้ายประชากร
โดยวิธีการศึกษาวิจัยเป็นการจัดเวทีเสวนาเพื่อแนะนำโครงการในพื้นที่รับผิดชอบ มีการสำรวจข้อมูลโดยแบบสอบถามสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดสนทนากลุ่มย่อย ผลที่คาดว่าจะได้การศึกษาจากวิจัยได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านโครงสร้างทางสังคมและการดำเนินโครงการรถไฟกรุงเทพฯ หนองคายเกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารภาครัฐเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงและประชาชนทุกหน่วยงานทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะโครงการ
ทั้งนี้ในการจัดเวทีเสวนา มีตัวแทนของราชการผู้นำท้องถิ่น ชุมชน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคเอกชนและภาคประชาชนประชาชนที่สนใจมาร่วมงานกว่า 200 คน