พาณิชย์จังหวัดขอนแก่น โชว์ยอดขายงานผ้าทออีสาน 20 ล้านบาทสู่แฟชั่นโลกเป็นจริง
นายชัยยะเจตน์ จันทร์อักษร พาณิชย์จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จากการจัดงานผ้าทออีสาน ESAAN FABRIC EXPO 2019 เมื่อวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดขอนแก่น มียอดขายทั้งสิ้น 20,655,904 บาท โดยการเฉลี่ย 300คูหา คิดเป็น 68,853 บาท/ คูหา หรือคิดเป็นรายได้ต่อวัน 13,770 บาท ถือว่าการจัดงานประสบความสำเร็จ จากยอดขายรวม เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดงานภายในห้างสรรพสินค้า หรือ ภายใน Hall ในกรุงเทพมหานคร
ด้านศักยภาพของผู้ประกอบการ กลุ่มที่ 1 คือผู้ประกอบการที่มียอดขาย 0-20,000 บาท มีจำนวน 58 คูหา มียอดขายรวม 623,840 บาท หรือคำนวณเฉลี่ยต่อคูหา จำหน่ายได้คูหาละ 10,755 บาท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน โซนอาหารที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์จากผ้าจำนวน 23 คูหา หรือเท่ากับ 19.3% ของผู้ประกอบการกลุ่ม นี้ กลุ่มที่ 2 คือผู้ประกอบการที่มียอดขาย 20,001-50,000 บาท มีจำนวน 113 คูหา มียอดขาย รวม 3,986,789 บาท หรือคำนวณเฉลี่ยต่อคูหาจำหน่ายได้คูหาละ 35,281 บาท ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งงาน แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ศักยภาพในการแข่งขันระดับปาน กลาง ยอดขายขึ้นกับผู้เที่ยวชมงานมีจำนวนที่เพียงพอที่จะจำหน่ายสินค้าได้ ซึ่งผู้ประกอบการ กลุ่มนี้มีมากที่สุดในการจัดงานครั้งนี้ถึง 37% แต่มียอดขายรวมเพียง 21.7% ของยอดขายรวม ตลอดทั้งงาน กลุ่มที่ 3 คือผู้ประกอบการที่มียอดขาย 50,001-70,000 บาท มีจำนวน 52 คูหา มียอดขาย รวม 3,117,786 บาท หรือคำนวณเฉลี่ยต่อคูหาจำหน่ายได้คูหาละ 59,957 บาท ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งงาน แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีศักยภาพในการแข่งขันที่ดี คิดเป็น 17.3% ของผู้ประกอบการทั้งหมด หรือมีรายได้เฉลี่ยรวมตลอดทั้งงาน 16.9%
กลุ่มที่ 4 คือผู้ประกอบการที่มียอดขาย 70,001-120,000 บาท มีจำนวน 47 คูหา มียอดขาย รวม 4,449,095 บาท หรือคำนวณเฉลี่ยต่อคูหาจำหน่ายได้คูหาละ 94,661 บาท ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่กระจัดกระจาย คิดเป็น 15.6% ของผู้ประกอบการ รายได้ตลอดการจัดงานคิดเป็น 24.2% แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ในระดับดีมาก กลุ่มที่ 5 คือผู้ประกอบการที่มียอดขาย 120,001-170,000 บาท มีจำนวน 14 คูหา มียอด ขายรวม 2,003,204 บาท หรือคำนวณเฉลี่ยต่อคูหาจำหน่ายได้คูหาละ 143,000 บาท ซึ่งส่วน ใหญ่อยู่กระจัดกระจาย คิดเป็น 4.6% ของผู้ประกอบการ รายได้ตลอดการจัดงานคิดเป็น 10.9% แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ในระดับดีมาก กลุ่มที่ 6 คือผู้ประกอบการที่มียอดขาย 170,001 บาทขึ้นไป มีจำนวน 16 คูหา มียอดขาย รวม 4,325,200 บาท หรือคำนวณเฉลี่ยต่อคูหาจำหน่ายได้คูหาละ 270,325 บาท ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่กระจัดกระจาย คิดเป็น 4.6% ของผู้ประกอบการ รายได้ตลอดการจัดงานคิดเป็น 23.5% แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ในระดับดีเยี่ยม
สรุปยอดขายทั้ง 6 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการแข่งขันคือกลุ่มที่มียอดขายตั้งแต่ 70,001-170,000 รวม 77 คูหา หรือคิดเป็น 25% ของผู้ประกอบการทั้งหมดที่สามารถแข่งขันในตลาดทั้งในและ ต่างประเทศได้ กลุ่มนี้ควรได้รับการส่งเสริมและหาช่องทางการตลาดเพิ่มเติม เพราะผลิตภัณฑ์มีศักยภาพในการแข่งขันดีอยู่แล้ว กลุ่มที่มียอดขาย 50,000-70,000 บาท มีเพียง 52คูหา หรือเท่ากับ 17% กลุ่มนี้ ต้องได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการ ของตลาดมากขึ้น กลุ่มที่มียอดขาย 0-50,000 บาท มีจำนวน 171คูหา หรือคิดเป็น 57% ของผู้ประกอบการในงานทั้งหมด ควรได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่กระบวนการผลิต ไปถึงการแปรรูป และเพิ่มทักษะทางการตลาดให้มากขึ้น
จากข้อมูลในการจัดงานในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาผ้าทออีสานไม่ว่าจะเป็นผ้าฝ้าย ผ้าย้อมคราม ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมแพรวา ผ้าลายจก ซึ่งเดิมนิยมขายเป็นผ้าผืนเพื่อนำไปตัดเป็นชุด เมื่อมีการพัฒนาทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนสนับสนุนให้ดีไซเนอร์ได้มาออกแบบ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากขึ้นพร้อมกับขยายกลุ่มผู้สวมใส่ผ้าทอจากกลุ่มผู้สูงอายุใช้สวมใส่ในงานพิธีต่างๆ ให้นำมาปรับใช้กับกลุ่มวัยรุ่น รวมไปถึงกลุ่มราชการสวมใส่หลากหลายสไตล์มากขึ้น จากยอดขายที่ปรากฏของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาแล้วมียอดขายสูงสุดภายในงาน จึงชี้ให้เห็นว่าผ้าทออีสานสามารถยกระดับไปสู่แฟชั่นระดับโลกได้ตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน