เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 เวลา 14.00 น ณ ห้องมงกุฎเพชร 3 โรงแรมโฆษะขอนแก่น นายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พบสื่อมวลชน จัดโดยสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น โดยมี หน.ส่วนราชการมาร่วมแถลงข่าวด้วย เช่น สำนักงานสาธารณสุข สำนักงานปศุสัตว์ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานวัฒนธรรม มาชี้แจงหลายเรื่อง โดยก่อนเริ่มแถลงข่าว หมอลำพื้นบ้าน ราตรี ศรีวิไล ได้มาแสดงหมลำเชิญชวนชาวขอนแก่น ร่วมฉัดวัคซีนป้องกัน โควิด 19 จากนั้นนายแพทย์สมชายโชติ ปิยวัขร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นกล่าวว่า จังหวัดขอนแก่นกำหนดกลุ่มเป้าหมายฉีดวัคซีน 1,256,172 คน(ร้อยละ 70 ของประชากรทะเบียนราษฏร์) ปัจจุบันประชาชน ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 63,395 คน (ข้อมูล ณ 24 มิถุนายน 2564 ) คิดเป็นร้อยละ 5.05 โดยฉีด Sinovac ร้อยละ 5.25 AstraZeneca ร้อยละ 1.86 โดยจะเร่งทำการฉีดให้กับผู้ที่ลงทะเบียนกับระบบหมอพร้อมก่อน หลังจากนั้นจะดำเนินการฉีดวัคซีนให้ผู้ที่จองผ่าน ระบบขอนแก่นพร้อม และลงทะเบียนผ่านการลงทะเบียนของหน่วยบริการในพื้นที่ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ภายใน 30 กันยายน 2564 ให้ครอบคลุมมากถึงร้อยละ 70 ทางด้านสำนักวัฒนธรรม ขอนแก่น โดย จ่าเอกนาวี แสงฤทธิ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ร่วมแถลงข่าว ประเด็นโครงการแห่เทียนพรรษา เมืองขามแก่นเสียงแคนดอกคูน จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2564 โดย กำหนดจัดโครงการแห่เทียนพรรษา เมืองขามแก่นเสียงแคนดอกคูน จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 19 – 28 กรกฎาคม 2564 โดยบูรณาการการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้าอำเภอน้ำพอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษา สืบทอดศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีวัฒนธรรม เพื่อความมีเสน่ห์ของเมืองขอนแก่น ประชาชนชาวขอนแก่น มีความรักและภูมิใจในเสน่ห์เมืองขอนแก่น ตลอดจนรักษามรดกทางขนบธรรมเนียมประเพณีชาติอันดีงาม
นายชาญประเสริฐ พลซา ปศุสัตว์ จังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงการระบาดของโรคลัมปี-สกิน (Lumpy skin disease : LSD) ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย รวมถึงจังหวัดขอนแก่นด้วย จังหวัดขอนแก่นมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โคนมและกระบือจำนวน 47,217 รายมีจำนวนสัตว์รวมทั้งสิ้น 118,158 ตัว ปัจจุบันพบการระบาดในพื้นที่อำเภอจำนวน ๒๖ อำเภอ ในส่วนของการเยียวยาผู้ที่สัตว์ตายจากโรคลัมปี สกิน ขณะนี้จังหวัดขอนแก่นกำลังดำเนินการสำรวจความเสียหายในทุกอำเภอ โค ไม่เกินรายละ 2 ตัว อายุน้อยกว่า 6 เดือน อัตราตัวละไม่เกิน 6,000 บาท อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี อัตราตัวละไม่เกิน 12,000 บาท อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 2 ปี อัตราตัวละไม่เกิน 16,000 บาท อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป อัตราตัวละไม่เกิน 20,000 บาท กระบือ (ไม่เกินรายละ 2 ตัว) อายุน้อยกว่า 6 เดือน อัตราตัวละไม่เกิน 8,000 บาท อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี อัตราตัวละไม่เกิน 14,000 บาทอายุมากกว่า 1 ปี ถึง 2 ปี อัตราตัวละไม่เกิน 18,000 บาท อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป อัตราตัวละไม่เกิน 22,000 บาท โดยเกษตรกรจะได้รับเงินเพื่อชดเชยเกษตรกรตามจริงเริ่มต้น ตัวละ 6,000 บาทแต่ไม่เกิน 22.000 บาทขึ้นอยู่กับช่วงอายุและชนิดของสัตว์ ซึ่งเกษตรกรจะได้รับเงินชดเชยรายละไม่เกิน 2 ตัว แต่ขณะนี้กรมปศุสัตว์ได้หารือกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรใหม่
นายสมพงษ์ เข็มเหล็ก หน.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอนแก่น การเตรียมการป้องกันน้ำท่วมในเขตเมือง ว่า ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ในเชิงป้องกันหรือยับยั้ง (อุทกภัย) โดยจัดทำโครงการกำจัดวัชพืช เศษสวะ ผักตบชวา สิ่งกีดขวางทางน้ำออก และเปิดทางน้ำ การพร่องน้ำเพื่อเตรียมเป็นแก้มลิง ไว้รองรับน้ำในช่วงฤดูฝน และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ในพื้นที่เสี่ยงเพื่อเร่งพลักดันน้ำ ในเขตบริเวณพื้นที่ เทศบาลนครขอนแก่น, เทศบาลตำบลบ้านเป็ด, เทศบาลตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น