โดรนตาวิเศษ” นวัตกรรมใหม่ เพิ่มผลผลิตชาวไร่อ้อย

“โดรนตาวิเศษ” นวัตกรรมใหม่ เพิ่มผลผลิตชาวไร่อ้อย

23 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 น. ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  กล่าวเปิดงาน. วิจัยสู่การปฏิบัติ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อัปเกรดเกษตรอุตสาหกรรมไทย” ทั้งนี้ได้ผลักดันงานวิจัยสมาร์ทฟาร์มสู่ไร่อ้อย โดยนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ “โดรน” มาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการออกแบบแปลงปลูก การบำรุงรักษา และการเก็บเกี่ยวผลผลิต สามามารถลดต้นทุนการผลิตตั้งแต่การใช้แรงงานคนไปจนถึงต้นทุนการผลิต
ในงานมี รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ รองผู้อำนวยการด้านบริหารงานวิจัย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ  ร่วมกันในการผลักดันงานวิจัยสมาร์ทฟาร์มสู่ไร่อ้อย ภายใต้แนวคิด “วิจัยสู่การปฏิบัติ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อัปเกรดเกษตรอุตสาหกรรมไทย” โดยโดรนตาวิเศษ เป็นวัตกรรมใหม่ที่มีเครื่องผสมสารอัตโนมัติ.  โดรนฉีดพ่นอัจฉริยะ และมีระบบประมวลผลผ่านภาพถ่ายทางอากาศ หรือ “ตาวิเศษ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่ง ภายใต้แผนงาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ โดยมี สวทช.เป็นหน่วยงานบริหารจัดการและส่งมอบผลลัพธ์ หรือ ODU ช่วยกำกับดูแล และสามารถผลักดันผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงต่อภาคเกษตรอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำการส่งออกระดับโลก
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า.  ตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ในประเด็นแผนงานวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และแผนงานระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ รวมถึงนโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่เป็นกลไกหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงปัจจุบันพบว่าชาวไร่อ้อยกำลังเผชิญกับปัญหาไม่สามารถควบคุมคุณภาพรวมถึงปริมาณการเก็บเกี่ยวได้ ประกอบกับปัญหาคุณภาพของอ้อยต่ำกว่าเกณฑ์และมีความหวานไม่คงที่ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อตันน้ำตาลสูงขึ้น ซึ่งทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลลดลง
“กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้นำนโยบาย DIPROM CARE มาประยุกต์ใช้ผ่านการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม มาเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน ทั้งในด้านวัตถุดิบและเวลาให้กับภาคการเกษตร รวมถึงการบูรณาการระหว่างพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยสามารถวิจัยแพลตฟอร์มบริการ FPS (Field Practice Solutions) ได้สำเร็จ เช่น ระบบประมวลผลเพื่อสร้างแผนที่ผลผลิตและแผนที่การระบาดของโรคพืชจากภาพถ่ายทางอากาศ ระบบประมวลผลเพื่อสร้างฐานข้อมูลในระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) จากแผนที่ผลผลิต ระบบผสมสารและบรรจุลงถังบรรจุอัตโนมัติสำหรับโดรน ระบบฉีดพ่นสาร แบบแปรผันอัตโนมัติติดตั้งบนโดรนชุด Mobile-KIT และ Mobile Application สำหรับระบุพิกัดแปลงและติดตามกิจกรรมในแปลง และระบบ AI สำหรับเสนอแนะแผนการทำงาน บันทึกและแสดงผลการทำงานของเครื่องจักรเกษตร และแนะนำการให้ปุ๋ยแบบแม่นยำสูงรายแปลงอัตโนมัติ ซึ่งระบบจะช่วยเรื่องการตัดสินใจในงานบำรุงรักษา เก็บเกี่ยว และเชื่อมโยงกับระบบตรวจวัด รวมทั้งมีระบบที่จะสามารถรองรับคำสั่งเพื่อให้เกิดการปรับการปฏิบัติงานในฟาร์มไปตามแผนงานใหม่ ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการออกแบบแปลงการปลูก การบำรุงรักษาและอารักขาพืช การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง และสามารถปรับรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้บริการแต่ละราย หรือพืชแต่ละชนิด ซึ่งช่วยลดการสูญเสียในด้านคุณภาพของผลผลิต ลดเวลารอคอยที่ไม่เกิดงานและเพิ่มความสามารถของเครื่องจักรได้ เช่น กรณีของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย จะช่วยให้สามารถลดต้นทุนการผลิตน้ำตาลหรือพลังงานชีวมวลได้มากกว่าร้อยละ 20 คิดเป็น ประมาณ 50 ล้านบาทต่อปีต่อโรงงาน” อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าว

<span;>         



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น