กรมทรัพยากรน้ำ ประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักแหล่งน้ำขนาดเล็ก ภาคอีสาน ระยะที่ 2

วันที่ 19 ตุลาคม. 2565 ณ ห้องประชุมโรงแรมเลอ แคสเซีย จังหวัดขอนแก่น นางสาวธนียา นัยพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานการประชุมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนระดับสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 4 โครงการศึกษา ประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกัก ในแหล่งน้ำขนาดเล็ก ที่พัฒนาโดยกรมทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 2 โดยมี ดร.สุประภาพ พัฒน์สิงหเสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์เมขลา ศูนย์ป้องกันวิกฤตน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ ดร.กฤษณัส สุรกิตย์ ทีมวิศวกรโครงการ ผศ.กฤตยชล ทองธรรมสถิต ผู้เชี่ยวชาญการมีส่วนร่วม และคณะวิทยากร พร้อม ตัวแทนแหล่งน้ำจาก 11 แหล่งน้ำ ประกอบด้วยผู้แทนจากจังหวัดขอนแก่น ,มหาสารคาม ,ร้อยเอ็ด ,ชัยภูมิ และกาฬสินธุ์ เข้าร่วมประชุม

นางสาวธนียา นัยพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การประชุมนี้เป็นการประชุมการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชนระดับสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 4 เพื่อสะท้อนปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ และสามารถใช้งานระบบตรวจวัดปริมาณน้ำที่พัฒนาขึ้นได้

เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยประสบปัญหาภาวะน้ำแล้ง ครอบคลุมพื้นที่จำนวน 41 จังหวัด ประกอบด้วยพื้นที่ภาคเหนือ 14 จังหวัด ภาคกลางและภาคตะวันออก. 13 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด และภาคใต้ 7 จังหวัด ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้านการเกษตร

นอกจากนั้นแล้ว ปัญหาหลักของภาครัฐในการบริหารจัดการภัยแล้ง ใน พ.ศ. 2559 คือ การที่หน่วยงานภาครัฐไม่ทราบถึงข้อมูลปริมาณน้ำที่แท้จริง ที่มีอยู่ในแหล่งน้ำในระดับพื้นที่ ซึ่งแหล่งน้ำดังกล่าวมีความสำคัญ ต่อประชาชนในการใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่นอกเขตชลประทาน (117 ล้านไร่ ซึ่งมีประมาณ 70 % ของพื้นที่การเกษตรในประเทศไทย ส่งผลให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ขาดการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมในช่วงสภาวะภัยแล้ง ส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น การนำแนวความคิดบัญชีรายงานระดับน้ำและปริมาณน้ำมาประยุกต์ใช้กับ แหล่งน้ำระดับตำบลและหมู่บ้านนั้น จะส่งผลให้สามารถประเมินปริมาณน้ำที่มีในปัจจุบันและปริมาณน้ำที่คาดว่าจะขาดแคลนในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้หน่วยงานราชการสามารถวางแผนการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาน้ำได้ดียิ่งขึ้น

ดร.สุประภาพ พัฒน์สิงหเสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์เมขลา ศูนย์ป้องกันวิกฤตน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากความต้องการในการแก้ปัญหาของภาครัฐด้านการบริหารจัดการภัยแล้ง และภัยจากน้ำหลาก โดยที่หน่วยงานของรัฐยังขาดข้อมูลด้าน “บัญชีแหล่งน้ำในระดับตำบล และในระดับหมู่บ้าน” จึงส่งผลให้ไม่ทราบปริมาณน้ำที่แท้จริงในแหล่งน้ำนั้นๆ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ประชาชนใช้ประโยชน์สำหรับเก็บกักน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ส่งผลให้เมื่อถึงฤดูแล้ง และฤดูน้ำหลาก ปัญหาดังกล่าวยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น จึงเป็นที่มาของโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำขนาดเล็กพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 2 เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถประเมินศักยภาพในการเก็บกักปริมาณน้ำที่มีในปัจจุบัน และปริมาณน้ำที่คาดว่าจะขาดแคลนในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้หน่วยงานราชการสามารถวางแผนการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำได้ดียิ่งขึ้น

ในการนี้กรมทรัพยากรน้ำ จึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ดำเนินโครงการฯ เพื่อศึกษาและสำรวจแหล่งน้ำในพื้นที่ พร้อมทั้งดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระดับแหล่งน้ำ เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการการสร้าง การรับรู้ การรวมรวบข้อมูล

กิจกรรมการใช้น้ำ และการรับฟังข้อเสนอแนะ รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยนำร่องระยะที่ 1 ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 จำนวน 80 แหล่งน้ำ และดำเนินการต่อในระยะที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวน 46 แหล่งน้ำ รวม 126 แหล่งน้ำ คลอบคลุมพื้นที่ 3 ลุ่มน้ำ คือ 1) ลุ่มน้ำโขง 2) ลุ่มน้ำชี และ 3) ลุ่มน้ำมูล ในพื้นที่การปกครอง 17 จังหวัด ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นกรมทรัพยากรน้ำจึงได้จัดการประชุมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนระดับสำนักงานทรัพยากรน้ำในวันนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นตัวแทนแหล่งน้ำจาก 11 แหล่งน้ำ รวม 44 ราย ประกอบด้วยผู้แทนจากจังหวัดขอนแก่น 5 แหล่งน้ำ มหาสารคาม 1 แหล่งน้ำ ร้อยเอ็ด 1 แหล่งน้ำ ชัยภูมิ 3 แหล่งน้ำ และกาฬสินธุ์ 1 แหล่งน้ำ

การนำแนวความคิดบัญชีรายงานระดับน้ำและปริมาณน้ำมาประยุกต์ใช้กับ แหล่งน้ำระดับตำบลและหมู่บ้านนั้น จะส่งผลให้สามารถประเมินปริมาณน้ำที่มีในปัจจุบันและปริมาณน้ำที่คาดว่าจะขาดแคลนในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้หน่วยงานราชการสามารถวางแผนการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาน้ำได้ดียิ่งขึ้น



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น