มข.”จับมือ บ.บียอนด์ ผลิตและประยุกต์ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน

“มข.”จับมือ บ.บียอนด์ ผลิตและประยุกต์ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนและโซเดียมไอออนสำหรับรถกอล์ฟไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ บริษัท บียอนด์ กรีน จำกัด จัดงานแถลงข่าวพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการผลิตและประยุกต์ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนและโซเดียมไอออนสำหรับรถกอล์ฟไฟฟ้า”เชิงพาณิชย์ ของโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ภายใต้แบรนด์ kkUVolts
   เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ที่  ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายอมฤต สุวรรณเศวต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บียอนด์ กรีน จำกัด  พร้อมด้วย น.ส.ศุภัสสร เชาว์วิศิษฐ์ กรรมการบริษัท บียอนด์ กรีน จำกัดได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ในการบูรณาการความร่วมมือเพื่อนำผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนของโรงงานแบตเตอรี่ และพลังงานยุคใหม่ภายใต้แบรนด์ kkUVolts โดยมีศาสตราจารย์ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,นางศิริพรรณ อันชื่น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น และผู้บริหาร ของทั้ง 2 หน่วยงาน ร่วมงาน
   น.ส.ศุภัสสร เชาว์วิศิษฐ์ กรรมการบริษัท บียอนด์ กรีน จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันรถกอล์ฟมีการใช้แบตเตอรี่ ด้วยคุณภาพที่เทียบกับแบตเตอรี่ไอออน จะเห็นได้ว่ามีการปล่อยพลังงาน ที่สูงและมีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ลูกค้าปัจจุบันค่อยๆ เปลี่ยนมาใช้กันมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันในตลาดรถกอล์ฟเรา ประมาณ 20,000 คัน ซึ่งก็เป็นรถกอล์ฟที่ขับเองใช้งานเองประมาณ 13,000 กว่าคัน แล้วก็ เป็นรถของเราเองประมาณ 3,000 กว่าคัน เพราะฉะนั้นแล้วปัจจุบัน เราก็ค่อยๆเปลี่ยนจาก ตะกั่วขดมาเป็นลิเทียมเยอะมากขึ้น ของบริษัท บียอนด์ กรีน จำกัด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่ยุคใหม่ชั้นนำของประเทศ ไปใช้สำหรับรถกอล์ฟไฟฟ้าของบริษัท ฯ ซึ่งเป็นผู้นำด้านธุรกิจรถกอล์ฟไฟฟ้าอันดับหนึ่งของไทยและรถไฟฟ้าอเนกประสงค์ครบวงจรในภูมิภาคเอเชีย โดยกรอบความร่วมมือนี้
  ด้านรองศาสตราจารย์ นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าสำหรับแบตเตอรี่ของเราที่พัฒนาเสร็จแล้ว สามารถเอามาใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ คือลิเทียมไอออน ส่วนโซเดียมไอออน ตัวต้นแบบได้ทำเรียบร้อยแล้ว เพื่อแพ็คแบตเตอรี่ขึ้นมา ใช้กับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าไปแล้ว ส่วนการที่จะเอามาใช้กับยานยนต์ เช่นรถกอล์ฟหรือรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งตรงนี้ในความเป็นจริงสามารถนำมาใช้ได้เลย เพราะคือเซลล์ขนาดเดียวกัน กับลิเทียมไออน เพียงแต่ว่า การเข้มข้นใช้งานอาจจะน้อยกว่าของลิเทียมไอออน หากเป็นยานยนต์ที่วิ่งไม่ไกล ก็สามารถใช้ได้ ซึ่งตรงนี้อยู่ระหว่างรอการผลิตออกมาเยอะๆ เพื่อนำมาไปใช้แพ็คแบตเตอรี่ได้ในจำนวนมาก ซึ่งอยู่ระหว่างการขยายโรงงาน ซึ่งทางทีมงานของโรงงานแบตเตอรี่ ก็สามารถทำโซเดียมไอออนได้ในปีนี้ อย่างน้อย 5 เมกะวัตต์
  รองศาสตราจารย์ นพ. ชาญชัย กล่าวอีกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมทุกคนก็รู้กันอยู่แล้วว่า ก็จะเป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยพลังงานสะอาด ทั้งการดึงพลังงานจากแหล่งต่างๆ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เป็นกระแสโลกที่กำลัง ไปในทิศทางนี้ส่วน ความแตกต่างระหว่างลิเทียมไออน และโซเดียมไออน อย่างที่ทุกท่านทราบดี เพราะทั้งสองชนิดนี้มีทั้งข้อดีและข้อด้อย ที่ไม่เหมือนกันและที่สำคัญคือ สำหรับประเทศไทยเรา ไม่มีแหล่งแร่ลิเทียม แต่เรามีโซเดียมเยอะ เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถนำโซเดียมมาใช้เป็นแบตเตอรี่ได้ อันนี้เราจะมีกำลังการผลิตมหาศาลสามารถตอบสนองความต้องการใช้งาน ในประเทศและจะมีการส่งออกได้ด้วย
รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และการประยุกต์ใช้แบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนที่สามารถใช้วัตถุดิบจากแร่เกลือหินภายในประเทศ เพื่อประยุกต์ใช้ในรถกอล์ฟไฟฟ้าในอนาคตอีกด้วย.



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น