มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมมือ สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย ลุยปั้น นศ. มุ่งสู่สตาร์ทอัพ
การลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย ได้เห็นชอบร่วมกันในการร่วมพัฒนาหลักสูตรทั้งในระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษา หรือพัฒนาหลักสูตรและจัดโครงการบริการวิชาการ หลักสูตรระยะสั้น (non-degree programs) รวมไปถึงการจัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอน การวิจัย รวมถึงสนับสนุนให้ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เข้าร่วมฝึกงาน ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กับสมาชิกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย อันจะเป็นประโยชน์ต่อตัวนักศึกษา และวงการสตาร์ทอัพไทยในอนาคต
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ ห้องวังเลิศ ชั้น 1 อาคาร bs01 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับ สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย โดยภายในพิธีได้รับเกียรติจากผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น , รองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ,ศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ , รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย เพียยุระ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, รองศาสตราจารย์ ดร.สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ,ดร.ธนาวุฒิ ตันติโสภารักษ์ ที่ปรึกษางานวิจัย นวัตกรรม และวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย โดย นายธนวิชญ์ ต้นกันยา กรรมการและประธานด้านสถานศึกษา สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
นายธนวิชญ์ ต้นกันยา กรรมการและประธานด้านสถานศึกษา สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย กล่าวว่าสำหรับ สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup) ก่อตั้งแล้วกว่า 8 ปี มีสมาชิกเป็นสตาร์ทอัปรายน้อยใหญ่กว่า 100 ราย และทำหน้าที่ในการผลักดัน ส่งเสริม รวมถึงเป็นตัวกลางเชื่อมต่อให้สตาร์ทอัปไทยได้เติบโต เฉิดฉายได้ในระดับสากลโดยวัตถุประสงค์ของสมาคม ประกอบไปด้วย 1.Community (สร้างคอมมูนิตี้) ผลักดันให้เกิด Startup Ecosystem ที่แข็งแรง การสร้างคอมมูนิตี้และคอนเนคชั่นระหว่างธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยกัน และการสร้างคอนเนคชั่นในการต่อยอดธุรกิจกับอุตสาหกรรมต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงกลุ่มนักลงทุน เป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้สตาร์ทอัพเติบโตอย่างมั่นคงได้ยิ่งขึ้น รวมไปถึงการจัดโครงการต่างๆที่ผลักดันให้ประเทศไทยมีสตาร์ทอัพใหม่ๆเกิดขึ้นได้ 2.Growth (ทำให้โต)ช่วยเหลือให้สตาร์ทอัพไทยในปัจจุบันเติบโตได้ไวขึ้น โดยนอกจากการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจผ่านการเชื่อมโยงพาร์ทเนอร์ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังต้องทำให้สตาร์ทอัพในไทยเป็นที่รู้จักและน่าดึงดูดสำหรับต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดและการลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติด้วย 3.Support (ทำให้ง่าย)ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาการทำธุรกิจสตาร์ทอัพผ่านโครงการ mentoring ที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้สำหรับสมาชิก รวมไปถึงการเชื่อมโยงบริการต่างๆที่จำเป็นสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือในการจัดหาพื้นที่ออฟฟิศ การปรึกษาทางธุรกิจ การซื้อบริการต่างๆในราคาที่ถูกลงกับบริษัทที่เป็นพาร์ทเนอร์กับสมาคม เป็นต้น
รศ. ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี กล่าวว่าความร่วมมือทางวิชาการที่จะเกิดขึ้นในการลงนามบันทึกความเข้าใจ ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี กับ สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยดังนี้ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ทำให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และ การดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนรูปแบบไปด้วยอย่างหลีกเลี้ยงไม่ได้ การปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติรอบด้านจึงเป็นความท้าทายยิ่งสำหรับสถาบันการศึกษาทั่วโลก มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการปรับเปลี่ยนการศึกษา (Education Transformation) เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองโลกในอนาคต มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยท่านอธิการบดี ได้สนับสนุนให้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
ร่วมมือกับอีก 5 คณะ ได้แก่ 1) คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2) วิทยาการคอมพิวเตอร์ 3) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 4) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ 5) คณะศึกษาศาสตร์ ร่วมกัน
รศ. ดร.เพ็ญศรี กล่าวอีกว่าการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการประกอบการดิจิทัล (Digital Entrepreneur) ซึ่งเปิดดำเนินการสอนเมื่อปีการศึกษา 2564 โดยเป็นหลักสูตรแนวใหม่ ซึ่งเรียกว่า New Paradigm Curriculum ใช้การเรียนการสอนแบบ Filpped Classroom และจัดเป็นชุดวิชา เพื่อให้การดำเนินการหลักสูตรนี้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของท่านอธิการบดี ในการเป็นหลักสูตรนำร่องการสอนแบบใหม่ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จึงได้ดำเนินงานร่วมกับ สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย โดยเป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ (Startup) ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจสตาร์ทอัพไทยเติบโตและร่วมกันแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ในประเทศ โดยวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรอบรมอื่นร่วมกัน ตลอดจนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สหกิจศึกษา ในเครือของสมาคมการค้าสตาร์ทอัฟไทย
รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ทำให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และ การดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนรูปแบบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติรอบด้านจึงเป็นความท้าทายยิ่งสำหรับสถาบันการศึกษาทั่วโลก มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการปรับเปลี่ยนการศึกษา (Education Transformation) เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองโลกในอนาคต
“มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้สนับสนุนให้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ร่วมมือกับอีก 5 คณะ ได้แก่ 1) คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2) วิทยาการคอมพิวเตอร์ 3) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 4) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ 5) คณะศึกษาศาสตร์ ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาผู้ประกอบการดิจิทัล (Digital Entrepreneur) ซึ่งเปิดดำเนินการสอนเมื่อปีการศึกษา 2564 โดยเป็นหลักสูตรแนวใหม่ ซึ่งเรียกว่า New Paradigm Curriculum ใช้การเรียนการสอนแบบ Filpped Classroom และจัดเป็นชุดวิชา เพื่อให้การดำเนินการหลักสูตรในการเป็นหลักสูตรนำร่องการสอนแบบใหม่ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จึงได้ดำเนินงานร่วมกับ สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย โดยเป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ (Startup) ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจสตาร์ทอัพไทยเติบโตและร่วมกันแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ในประเทศ โดยวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรอบรมอื่นร่วมกัน ตลอดจนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สหกิจศึกษา ในเครือของสมาคมการค้าสตาร์ทอัฟไทย
“ในนามมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณคุณธนวิชญ์ ต้นกันยา กรรมการและประธานด้านการศึกษา สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญนี้ ขอขอบคุณคณะผู้บริหาร ตลอดจนคณาจารย์และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่ได้สละเวลามาร่วมเป็นเกียรติในพิธีครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับความร่วมมือกับทาง สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย ในการจัดการเรียน การสอน และการอบรมทางวิชาการเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่และผู้ประกอบการใหม่ ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ผลักดันให้เกิด Startup Ecosystem ที่แข็งแรง สร้างชุมชนและความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจสตาร์ทอัพ สร้างความสัมพันธ์เพื่อต่อยอดธุรกิจกับทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงกลุ่มนักลงทุน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพที่ยั่งยืน ตลอดจนการให้นักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ฝึกงาน สหกิจในเครือข่าย อันจะเป็นประโยชน์ต่อตัวนักศึกษา และวงการสตาร์ทอัพไทยในอนาคต”