กองทุนฟื้นฟู.ขอนแก่น” เร่ง!จัดการหนี้สินของเกษตรกร

กองทุนฟื้นฟู.ขอนแก่น” เร่ง!จัดการหนี้สินของเกษตรกร

ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกรติดตาม เร่งรัด ประชาสัมพันธ์ การรายงานตัวของเกษตรกร การนำเกษตรกรเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันเจ้าหนี้ และการเตรียมเกษตรกรเข้าสู่กระบวนการ ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรหลังปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสำนักงานสาขาจังหวัด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – กันยายน พ.ศ. 2566


.วันที่ 15 มีนาคม 2566 วัดเถาวัลย์ ม.11 ต.บ้านป่าหม้อ ต.พระยืน อ.พระยืน จ.ขอนแก่น นายสมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น จัดแผนลงพื้นที่โครงการสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกรติดตาม เร่งรัด ประชาสัมพันธ์ การรายงานตัวของเกษตรกร การนำเกษตรกรเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันเจ้าหนี้ และการเตรียมเกษตรกรเข้าสู่กระบวนการ ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
<span;>หลังปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสำนักงานสาขาจังหวัด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – กันยายน พ.ศ. 2566 โดยมี
นายรังสิต ชูลิขิต อนุกรรมการ (ประธานโซน) ,นายประดิษฐ์ สิงสง รองประธานอนุกรรมการฯ,นายชูไทย วงศ์บุญมี, น.ส.ศศิธร นครไธสง ลูกจ้างโครงการเร่งรัดฯ,น.ส.สิริญญา ด่านซ้าย ลูกจ้างโครงการเร่งรัดฯ ผู้แทนสำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น อนุกรรมการ, ผู้แทนสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น อนุกรรมการที่รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ต.พระยืน กลุ่มเป้าหมาย
โดยในช่วงบ่าย เวลา 13.30 – 16.30 น.ลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกรติดตาม เร่งรัด ประชาสัมพันธ์ การรายงานตัวของเกษตรกร การนำเกษตรกรเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันเจ้าหนี้ และการเตรียมเกษตรกรเข้าสู่กระบวนการ ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ศาลากลางบ้านโนนฆ้อง ม.10 บ.โนนฆ้อง
ต.โนนฆ้อง อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น
นางบุญสา รถน้อย อายุ58 ปี อาชีพเกษตรกร อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 16 หมู่ 6 ตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น(ท่าพระ)เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ประมาณ วันที่ 6 เมษายนปี พ.ศ. 2564 ไปสมัครสมาชิกกับพ่อขุนพล ที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เดิมทีจะไปสมัครที่จังหวัดชัยภูมิเพราะว่าเป็นหนี้เป็นสินเยอะแต่เพื่อนแนะนำให้ไปสมัครที่จังหวัดขอนแก่นเพราะเป็นคนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น อยากรู้ว่าวันเวลาปี ที่ทางกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่นจะช่วยปรับโครงสร้างหนี้สินตอนไหน เพราะกลัวว่าธนาคารจะยึดทรัพย์ขายทรัพย์สินทอดตลาด ด้วยเหตุว่าถูกธนาคารฟ้องยึดทรัพย์แพ้ไปแล้ว ดังนั้นในวันนี้จึงเข้ามารับฟังแผนฟื้นฟูและประชาสัมพันธ์ในเรื่องดังกล่าว จะได้ตั้งตัวตั้งตนได้ถูกเพราะไม่มีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวนี้เท่าไหร่ นับว่าเป็นเรื่องดีที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่นได้ลงพื้นที่ในครั้งนี้ทำให้ได้มีโอกาส ที่ดีที่จะได้ใช้หนี้ตามมาตรการของรัฐบาลครึ่งต่อครึ่ง ไม่มีดอกเบี้ย 15 ปี จะได้ต่อชีวิตยืดลมหายใจออกไปอีก


นายรังสิต ชูลิขิต อนุกรรมการ (ประธานโซน) อดีตหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าในการลงพื้นที่พบเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟู ที่ได้สิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 หลักๆคือต้องเป็นสมาชิกของฟื้นฟู ที่มีรายชื่อได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ของธนาคารรัฐ 4 แห่งคือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.),ธนาคารอาคารสงเคราะห์,ธนาคารออมสิน และ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(SME Bank) หลักเกณฑ์ก็คือตัดดอกลดต้นเหลือ 50% เกษตรกรสมาชิก จะรับผิดชอบแค่ 50% ของต้นเงิน ส่วนต้นเงิน 50% กับดอกเบี้ย ที่เกิดขึ้นที่เหลือ ก็คือเป็นหน้าที่ของธนาคาร ที่จะไปเรียกเก็บกับทางรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯรับผิดชอบ 50% ส่วนนี้นั้นคือมีภาระหนี้ระยะเวลาการการส่งก็คือ 15 ปีๆละ 1 ครั้ง จะชำระก่อนให้เสร็จสิ้นก่อน 15 ปีก็ได้ ต่อคำถามที่ว่ามีอะไรที่จะฝากไปยังเกษตรกรที่ไม่ทราบข่าวนี้หรือพอทราบข่าวแล้วเขาจะได้มาร่วมปรับโครงสร้างโครงการนี้
. นายรังสิต กล่าวขยายความอีกว่ากับการเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯและขึ้นทะเบียนหนี้กับกองฟื้นฟูฯไว้นี้ เป็นข้อดี มากที่สุด ก็คือที่ผมประทับใจนั่นคือลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดี และถูกยึดทรัพย์ประกาศขายทอดตลาด โดยสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯมาขอให้กองฟื้นฟูฯไปชะลอการขายทอดตลาด ที่สำนักงานบังคับคดีได้ นี้เป็นส่วนดีที่ช่วยเหลือให้เกษตรกร ที่เป็นสมาชิกกองทุนฯกู้ ไม่ถูกนายทุนเข้าไปซื้อทรัพย์จากการบังคับคดีขายทอดตลาด นับเป็นข้อดีข้อหนึ่งที่ตนว่าเป็นข้อดีมากสำหรับสมาชิกของกองทุนฟื้นฟู ที่ไม่มีเงินที่จะไปชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงิน ที่ถูกบังคับคดี ขายทอดตลาด ทำให้ได้รับโอกาสชะลอการถ่ายทอดตลาด เสร็จจากนั้นก็จะนำไปสู่การซื้อทรัพย์โดยกองทุนฟื้นฟูฯจะไปซื้อทรัพย์ที่สำนักงานบังคับคดี มาให้มาไว้ให้กับสมาชิก เพื่อมาทำสัญญาเป็นการเช่า-ซื้อ ทรัพย์คืนจากกองทุนฯที่อยู่ได้นะและไม่มีดอกเบี้ยปลอดๆดอกเบี้ยด้วยเป็นเรื่องเป็นสิ่งที่ดีมาก
สมาชิกท่านใดที่ต้องมีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการนี้ ให้ติดต่อไปที่กองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในวันและเวลาราชการ หรือติดต่อสอบถามมายังที่เบอร์ของตนเอง062-5924998  ได้ทุกเมื่อ”นายรังสิต กล่าว.

 



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น