ผู้ว่าฯ ขอนแก่น แถลง จัดประเพณีสงกรานต์ วิถีไทบ้านขอนแก่น ที่ เฮือนโบราณ

ผู้ว่าฯ ขอนแก่น แถลง จัดประเพณีสงกรานต์ วิถีไทบ้านขอนแก่น ที่ เฮือนโบราณ

ขอนแก่นพร้อมการจัดงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ วิถีไทบ้านขอนแก่น 12 – 16 เมษายน 2566 ณ เฮือนโบราณ วิถีไทบ้านขอนแก่น สรงน้ำพระพุทธพระลับ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จาก 26 อำเภอ โดยใช้ฮางฮดแบบโบราณ น้ำศักดิ์สิทธิ จาก 26 อำเภอ มารวมกันเป็นน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลในงาน พร้อมการตบปะทาย (ก่อเจดีย์ทราย) จาก 26 อำเภอ (จัดการประกวด)


วันนี้ 30 มีนาคม 2566 ที่ บริเวณลานกิจกรรมเฮือนโบราณ สนามหน้าศาลากลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานแถลงข่าวงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ วิถีไทบ้านขอนแก่น โดยมีนายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น,น.ส.ธนียา นัยพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น , นายศุภชัย ลีเขาสูง ปลัดจังหวัดขอนแก่น ,นายรุจติศักดิ์ รังษีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดขอนแก่น, นายสิทธิกุลภูคำวงศ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น นางกรรณิกา กองฉลาดนายกเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่น ,ดร.สมยงค์แก้วสุพรรณ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ตลอดจนนายอำเภอทั้ง 26 อำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าวอย่างคับคั่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าความเป็นมาประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีที่เก่าแก่ของไทยที่สืบทอดมาแต่โบราณ ถือเป็นช่วงเวลาของการเฉลิมฉลองศกใหม่หรือปีใหม่ของคนไทย มีการสรงน้ำพระพุทธรูป การใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น การรดน้ำ ขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที สำหรับภาคอีสาน ประเพณีบุญเดือนห้ามหาสงกรานต์เป็นการแสดงถึงอัตลักษณ์ของชาวพุทธอีสานในการบูชาสรงน้ำองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในช่วงวันสงกรานต์ เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว รวมถึงการรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับ ปัจจุบันของสังคมไทยยังนับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัวอีกด้วย
นายไกรสร กล่าวอีกว่าในปี 2566 ประเทศไทยได้เสนอประเพณีสงกรานต์ เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก ซึ่งจะเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ชิ้นที่ 4 ต่อจาก โขน นวดไทย และรำโนราห์ จึงได้กำหนดแนวทางจัดงาน “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจสู่สากล” เพื่อเป็นสืบทอดประเพณีอันดีงาม จังหวัดขอนแก่นกำหนดจัดงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ วิถีไทบ้านขอนแก่น ขึ้น ณ เฮือนโบราณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ในระหว่างวันพุธที่ 12 – วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2566
สำหรับ กิจกรรมที่สำคัญในงานมีดังนี้ 1.ขบวนแห่ วันที่ 12 เมษายน 2566 พร้อมกันเวลา 15.00 น. ณ บริเวณหน้า รร.ขอนแก่นวิทยายน ขบวนแห่ ประกอบด้วย ขบวนเกวียนบุปผชาติอัญเชิญพระพุทธพระลับ ขบวนแต่งกายตามกลุ่มชาติพันธุ์อีสาน 13 กลุ่มชาติพันธุ์ (ส่วนราชการ 70 คน) ขบวนแห่พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ และน้ำศักดิ์สิทธิ์ จาก 26 อำเภอ และขบวนน้ำอบ/น้ำหอม/ดอกไม้ (ผู้ร่วมขบวนไม่น้อยกว่า 500 คน)ขบวนเกวียนบุปผชาตินางสงกรานต์ ประจำปี 2566 (นางสงกรานต์นามว่า นางกิมิทาเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี (บัวชนิดหนึ่ง) อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จนั่ง มาเหนือหลังมหิงส์ (กระบือ) เป็นพาหนะ)
ขบวนนางรำ ด้วยการแต่งกายผ้าไทยพื้นบ้านอีสาน ( 200 คน )ขบวนกลองยาว การละเล่นพื้นบ้าน การเล่นน้ำสงกรานต์แบบโบราณ พิธีสรงน้ำพระพุทธรูป พิธีสรงน้ำพระ และพิธีสมมาอาวุโส (รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ) สรงน้ำพระพุทธพระลับ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จาก 26 อำเภอ โดยใช้ฮางฮดแบบโบราณกราบนิมนต์พระราชาคณะในเขตจังหวัดขอนแก่น พระเถรานุเถระ ร่วมพิธี ( 9 รูป )การรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ขอขมาผู้สูงอายุ นำน้ำศักดิ์สิทธิ จาก 26 อำเภอ มารวมกันเป็นน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลในงาน การตบปะทาย (ก่อเจดีย์ทราย) จาก 26 อำเภอ (จัดการประกวด)
กิจกรรมการแสดง การแสดงของศิลปิน จาก หมอลำระเบียบวาทศิลป์ อาทิ ท๊อป นรากร, ต้าวหยอง, แต้ว สุกัญญา, เชอรี่ ปิยพร, การแสดงจากหมอลำ ยูกิ เพ็ญผกา, ศิลปินลูกทุ่ง ไผ่ พงศธร, โม ประกิจ, บิว สงกรานต์, ลำน้ำ นพมาศ , วงดนตรีเพชรน้ำไหล รำวงย้อนยุค, การเดินแฟชั่นโชว์ผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีมะม่วง, การแสดงศิลปวัฒนธรรม อาทิ หมอลำพื้นบ้าน, การฟ้อนรำ, การละเล่นพื้นบ้าน, การแสดง แสง สี เสียง ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, การแสดงจากทุกอำเภอ และส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ จัดแสดง/จำหน่ายผลิตภัณฑ์จาก ทุกอำเภอ ส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผักปลอดภัย อาหาร ผลิตภัณฑ์จากชุมชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ อุโมงค์ดอกสะแบง / ซุ้มดอกสะแบง ตลอดบริเวณงาน และ จัดให้มีการประเมินผลการจัดงาน โดยสำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น.

 



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น