“มข.”สร้างความแตกต่าง “ป.ปลาส้มโพธิ์ตาก” ผสานวัสดุธรรมชาติ ยกระดับของฝาก ต.บ้านผือขอนแก่น สู่แบรนด์พรีเมี่ยม

“มข.”สร้างความแตกต่าง “ป.ปลาส้มโพธิ์ตาก” ผสานวัสดุธรรมชาติ ยกระดับของฝาก ต.บ้านผือขอนแก่น สู่แบรนด์พรีเมี่ยม


การดำเนินกิจกรรมมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก ฝึกปฏิบัติการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ และทดสอบบรรจุสินค้ากลุ่มใหม่ในบรรจุภัณฑ์ใหม่ การจัดชุดคู่สินค้าเพื่อนำเสนอขายเป็นแพ็คเกจ และตกแต่งกลุ่มบรรจุภัณฑ์เดิมและใหม่เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภคด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น เชือกผือ ที่หาได้ง่ายในชุมชน

วันที่ 24 เมษายน 2566 สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ  เทศบาลตำบลบ้านผือ  จัดกิจกรรมการยกระดับและต่อยอดผลิตภัณฑ์ของฝาก การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ของ “กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปปลาโพธิ์ตาก” ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น


รศ.ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น(วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ) และนักศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยน.ส.เสาวลักษณ์ ราชำ นักวิชาการศึกษา ผู้ประสานงานด้านบริการวิชาการสังคมในพื้นที่ เจ้าหน้าที่จากสำนักบริการวิชาการ ภายใต้การอำนวยการของรศ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมการส่งมอบผลงานการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ใหม่ ภายใต้ชี่อตราสินค้า “ป.ปลาส้มโพธิ์ตาก”  ให้กับนายสุรชัย พลทะอินทร์ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านผือ เป็นตัวแทนในการรับพร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปปลาโพธิ์ตาก
รศ.ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น(วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ) กล่าวว่าการดำเนินงานในครั้งนี้ได้แนวคิดการออกแบบเน้นการต่อยอดจากของเก่า เติมของใหม่ สร้างตัวตนให้แบรนด์ ที่ต้องรู้จัก Character

Marketing ซึ่งเป็นอาวุธลับในการสร้างตัวตนสร้างความต่างให้กับสินค้า การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของสินค้า จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ปลาส้มตัว ปลาเส้นกึ่งสำเร็จรูป ปลาส้มก้อน ปลาแห้งตัวแดดเดียว พุงปลาทอด การดำเนินกิจกรรมมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก ฝึกปฏิบัติการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ และทดสอบบรรจุสินค้ากลุ่มใหม่ในบรรจุภัณฑ์ใหม่ การจัดชุดคู่สินค้าเพื่อนำเสนอขายเป็นแพ็คเกจ และตกแต่งกลุ่มบรรจุภัณฑ์เดิมและใหม่เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภคด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น เชือกผือ ที่หาได้ง่ายในชุมชน เป็นต้น รศ.ดร.ดวงจันทร์ กล่าวทิ้งท้ายว่าซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในพันธกิจของสำนักบริการวิชาการ ด้านการประสานบริการวิชาการสู่สังคม (Community Outreach) ในรูปแบบของการสร้างคุณค่าร่วมกัน (CSV) เพื่อการพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

 

 



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น