“กองทุนฟื้นฟูฯ.ขอนแก่น” ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ฯ

“กองทุนฟื้นฟูฯ.ขอนแก่น” ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ฯ


เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ที่ศาลากลางบ้านนาชุมแสง ม.10 ต.นาชุมแสง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น
และจุดที่2 ศาลากลางบ้านวังขอนแดง ม.8 ต.หนองกุงธนสาร อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ภายใต้การอำนวยการของ ดร. สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขา จังหวัดขอนแก่น นายชัยนรินทร์ เพ็ชรแสน ,นายถวิลกานต์ ชาวกะตา ทีมงานจัดการหนี้ฯ/อนุกรรมการจังหวัด ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ฯ


การดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวที่รัฐจะต้องรับภาระในการจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ เงินต้นครึ่งหลัง (ร้อยละ 50) และดอกเบี้ยของเงินต้นเดิม รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,481.657 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2568-2580 ให้กับธนาคารที่เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ จำแนกตามข้อมูลของแต่ละธนาคารได้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบแนวทางการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส. ) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อจ่ายชดเชยให้กับธนาคารทั้ง 4 แห่ง เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ 50,621 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 15,481.657 ล้านบาท กรณีเกษตรกรมีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถชำระหนี้ได้ และได้ขอให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ชำระหนี้แทน ให้กองทุนฟื้นฟูฯ เสนอขอรับการจัดสรรงบเพื่อชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการชำระหนี้ตามสัญญา.



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น