‘กฟก.ขอนแก่น’ ประเมินแผน เกษตรกรกลุ่มเลี้ยงวัวต้นน้ำ และปลูกหญ้าหวาน

‘กฟก.ขอนแก่น’ ประเมินแผน เกษตรกรกลุ่มเลี้ยงวัวต้นน้ำ และปลูกหญ้าหวาน

กฟก.ขอนแก่น ลงพื้นที่ประชุม พบปะพี่น้อง เกษตรกร การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแผน และโครงการเบื้องต้น โครงการเลี้ยงวัวต้นน้ำ เพื่อขยายพันธุ์, โครงการพัฒนาพื้นที่ในการเลี้ยงโค ด้วยการปลูกหญ้าหวาน ใช้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 14 มิถุนายน 2566 ที่ กองทุนฟื้นฟูพัฒนา และพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ลงพื้นที่ประชุม พบปะพี่น้อง เกษตรกร การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแผน และโครงการเบื้องต้น โครงการเลี้ยงวัวต้นน้ำ เพื่อขยายพันธุ์, โครงการพัฒนาพื้นที่ในการเลี้ยงโคปลูกหญ้าหวาน โดยมีนายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษครกร สาขา จังหวัดขอนแก่น เป็นประธาน ในการพบปะและชี้แจง ต่อเกษตรกร พร้อมด้วยนายประดิษฐ์ สิงสง นายหมวดตรีชูไทย วงศ์บุญมี คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ร่วมลงประเมิน ที่ ศาลาวัดท่าเรียบ บ้านบึงเนียมใคร่นุ่น ตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในการนี้มีนางนงลักษณ์ บุตระชา ประธาน กลุ่มรักพัฒนาเกษตรกรนครขอนแก่น,พร้อมด้วน นายธรรศ กาญจณาโชควณิช นายทะเบียน กลุ่มรักพัฒนาเกษตรกรนครขอนแก่น และสมาชิกกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ 43 คน รับ รับฟังพร้อมทั้งเสนอ ข้อคิดเห็น และ ตั้งคำถาม ในการเสนอโครงการและรับการประเมินในครั้งนี้


นายสานิตย์ เชิดโคกสี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ในการลงพื้นที่พบปะพี่น้อง เกษตรกร การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแผน และโครงการเบื้องต้น ความพร้อมเพียงการนำเสนอโครงการ ของเกษตรกรรวมทั้ง ทราบว่าเกษตรกรมีความคิดเห็น ร่วมเสนอโครงการขององค์กร ของกลุ่มรักพัฒนาเกษตรกรนครขอนแก่น ที่บ้านบึงเนียมไคร่นุ่น ซึ่งมีพี่น้องเกษตรกรค่อนข้างเยอะที่มาร่วม โครงการ พร้อมทั้งนำเสนอโครงการ ซึ่งได้รวบรวม ที่เสนอ คือโครงการเลี้ยงวัวต้นน้ำ และการปลูกหญ้าหวาน สำหรับใช้เลี้ยงวัว โดยมีสมาชิกเข้าร่วม 52 คน รวมแล้วประมาณ 19 ล้านบาท ขั้นตอนต่อไปก็จะนำเสนอให้กับอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ความเห็นชอบ และกลั่นกรอง นำเสนอต่อ คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟู ต่อไป
ต่อข้อถามของสมาชิกกลุ่มที่ว่า เมื่อเสนอโครงงานไปแล้วไม่ทราบว่าจะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเมื่อไหร่ ซึ่ง กระบวนการดังกล่าว ต้องเสนอโครงการให้คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูระดับจังหวัดเห็นชอบและกลั่นกรอง เสนอเรื่องต่อไปยัง กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ให้เป็นผู้อนุมัติ เงินดังกล่าว ลงสู่พี่น้องประชาชน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งคาดว่าประมาณปี 2567 คงจะรู้ผลที่แน่ชัด แล้วจึงนำเรียนต่อพี่น้องเกษตรกร ในแต่ละกลุ่มที่เสนอโครงการเข้ามา
ด้าน นางนงลักษณ์ บุตระชา ประธานกลุ่มรักพัฒนาเกษตรกรนครขอนแก่น กล่าวว่า ต้องเรียนสมาชิก กลุ่มรักพัฒนาเกษตรกรนครขอนแก่น ทุกคน วันนี้เรานัดกันมาเรียกว่าประชุมใหญ่ การเสนอแผนโครงการ ซึ่งได้สรุปยอด และปรับแผนใหม่ เพราะแต่ก่อนเราทำได้แค่ 2 กลุ่ม แต่ตอนนี้เราได้ปรับเป็น รุ่นหรือกลุ่มเดียวกันหมด เรียกพี่น้องเกษตรกรมาเซ็นชื่อกันในวันนี้ เพื่อที่จะรับแผนโครงการ เพื่อออกความคิดเห็น ซึ่งได้มีคณะกรรมการสรุปแผนงานมาแล้ว เห็นดีด้วยไหม พอใจไหม หรือมีข้อไหนแก้ไขเพิ่มเติม และมีข้อบังคับระเบียบขององค์กร และวันนี้จะให้เลขา หรือนายทะเบียนมาอ่านข้อบังคับให้ฟังว่า ประเมินกลุ่มความเข้มแข็งขององค์กร ความเพียบพร้อมความพร้อมเพียงของเรามีไหม ในการที่จะของบประมาณจากสำนักงาน กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น พี่น้องเกษตรกรมีความพร้อมเพียงมากน้อยแค่ไหน การทำมาหากินเป็นสิ่งที่สำคัญ


ส่วน นายทรรศ กาญจณาโชควณิช กล่าวว่า วันนี้เราจะมาชี้แจงรายละเอียดให้สมาชิกได้รับทราบ หรือรายละเอียดในการประกอบอาชีพ ทุนของผู้ให้ เช่น ประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อ เพื่อขยายพันธุ์ ซึ่งงวดแรกได้เงินสนับสนุน จากกองทุนคนกู้ เป็นรายบุคคลคนละ 369,700 บาท เพื่อไปประกอบอาชีพและเพื่อฟื้นฟูพัฒนาพื้นที่ จำนวนเงิน 120,000 บาท ในการปลูกหญ้าหวาน สำหรับให้วัว ในพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ และค่าใช้จ่ายสำหรับอื่นๆ เช่นค่าไถปรับที่ ค่าเจาะน้ำบาดาล และต่างๆในงบประมาณ 120,000 บาท ซึ่งเป็นงบเหลือจากการกู้ยืม ซึ่งตั้งไว้อยู่ที่ 1,200,000 บาท ต่อคน คือถ้ามีการซื้อวัวต้องไว้ที่ 20 ตัว ราคาตัวละ 50,000 บาท จะตกอยู่ที่ 1 ล้านบาทพอดี ในตรงนี้นโยบายกองทุนฟื้นฟูฯก็รับทราบนโยบายตรงนี้ไป กลุ่มรักพัฒนาเกษตรกรนครขอนแก่น เลยมาทำความเข้าใจกับสมาชิกให้ได้รับทราบว่า สมาชิกที่จะไปรับเงินงวดแรก ประมาณ 369,700 บาท เพื่อไปส่งเสริมอาชีพเลี้ยงโคนม และโคเนื้อเพื่อขยายพันธุ์ คนละ 5 ตัว และเมื่อได้รับเงินไปแล้ว ก็เพื่อจะพัฒนา ด้านการลงทุน การลงทุนกับกลุ่ม คือทุกคนต้องร่วมลงทุนกับองค์กร เป็นจำนวนเงิน 10% ของเงินกู้ เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยง ของแต่ละคน และเกษตรกรทุกคน จะต้องเป็นเกษตรกรที่มีรายได้ จากการทำเกษตร 50% อันนี้คือนโยบายกลุ่มรักพัฒนาเกษตรกรนครขอนแก่น.



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น