“ไคซ์ผนึกภาคีหลัก ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคอีสานสู่สากล
ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น หรือ ศูนย์ประชุมฯไคซ์ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)หรือ ทีเส็บ และ สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute: MI ) จัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “ไคซ์ผนึกภาคีหลัก ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคอีสานสู่สากล พร้อมปักหมุดศูนย์กลางอุตฯไมซ์สู่ตลาด GMS”
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงานว่า ที่ ชั้น 27 โรงแรม แอดลิป ตั้งอยู่ใจกลางเมืองขอนแก่น นางสาวอารีรัตน์ มนตรีปรีชาชัย ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานส่งเสริมกรจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ พร้อมด้วย นายสง่า สัตนันท์ ผู้จัดการโครงการ แผนกอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน, สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง และนายวิศวชนนท์ วิชัยยุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น หรือ ศูนย์ประชุมฯไคซ์ จัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “ไคซ์ผนึกภาคีหลัก ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคอีสานสู่สากล พร้อมปักหมุดศูนย์กลางอุตฯไมซ์สู่ตลาด GMS” โดยมีภาคีเครือข่าย ตลอดจนสื่อมวลชน จ.ขอนแก่น ร่วมรับฟัง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผนึกกำลังของภาคีหลักที่ต้องการยกระดับและเพิ่มศักยภาพของอุตฯไมซ์ในภาคอีสานให้มีมาตรฐานระดับสากล อีกทั้งมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการจัดประชุมและงานแสดงสินค้าแห่งภาคอีสาน พร้อมต่อยอดสร้างโอกาสทางธุรกิจสู่ประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion -GMS) อันประกอบด้วยประเทศ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (มณฑลยูนนาน)
น.ส.อารีรัตน์ มนตรีปรีชาชัย ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานส่งเสริมกรจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ได้เผยถึงนโยบายการสนับสนุนผู้ประกอบการไมซ์ภาคอีสานทั้ง 3 จังหวัดไมซ์ชิตี้ ขอนแก่น นครราชสีมา และอุดรธานี ด้วยแผนยกระดับงานไมซ์ระดับนานาชาติว่า ปี พ.ศ. 2566 “อีสานไมซ์” จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของจุดหมายปลายทางด้วยความหลากหลายอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ประสบการณ์ที่คุ้มค่ภายใต้ธีม “Experience the Magic of ISANMICE : สัมผัสประสบการณ์ไมซ์ใหม่” ด้วยแกนหลักเอกลักษณ์เฉพาะอีสานที่โดดเด่น ไม่เหมือนใครของ DNA แบบอีสาน และ Soft Power (5Fs) F-Food อาหาร, F-Film ภาพยนตร์และวีดีทัศน์, F-Fashion การออกแบบแฟชั่นไทย, F-Fighting ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย, F-Festival เทศกาลประเพณีไทย สู่ระดับโลก ทางทีเส็บพร้อมชูกลยุทธ์ 3ส. คือ สร้างงาน ที่มีศักยภาพตามนโยบายขับเคลื่อนอัตลักษณ์การตลาดเชิงพื้นที่และความต้องการของภาคธุรกิจ, ส่งเสริมงาน ผ่านการดึงงานที่เป็นที่รู้จักระดับนานาชาติเข้ามาจัดในพื้นที่ ที่จะสามารถปัก
หมุดเป็นจุดหมายปลายทางในพื้นที่อีสานได้อย่างอย่างรวดเร็ว และสนับสนุนงาน ที่จัดงานในพื้นที่ให้เจริญเดิบโตและยกระดับให้เป็นงานระดับภูมิภาคต่อยอดสู่งานระดับนานาชาติต่อไป
โดยทั้ง 3 จังหวัดไมซ์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า รองรับการจัดกิจกรรมไมซ์ได้ทุกรูปแบบ อย่างเช่น ศูนย์ประชุมฯไคซ์ อีกทั้งคนในอุตสาหกรรมไมซในพื้นที่นี้ มีความเข้าใจ Eco system ของไมซ์และเข้าใจบทบาทการขับเคลื่อนไมซ์เพื่อเศรษฐกิจ ปักหมุดให้อีสานเป็นพื้นที่จัดการประชุมและงานแสดงสินค้ารวมทั้งงานเทศกาล อีเว้นท์แห่งอาเซียน
น.ส.อารีรัตน์ ย้ำว่า จากห่วงโซ่คุณค่าการจัดงานประชุม การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล งานแสดงสินค้า รวมถึงงานเทศกาลเมกกะอีเว้นท์ สามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมได้ทั้งระบบและทั่วถึงอีสานจะเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเครือข่ายไมซ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืนด้วยการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้อีสานเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์หลักของประเทศไทยเในอันดับหนึ่ง ภายในปี 2570
ด้าน นายสง่า สัตนันท์ ผู้จัดการโครงการ แผนกอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน, สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง เผยถึงการผนึกความร่วมมือของภาคีหลักในอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการเติบโตของอุตสาหกรรมในภูมิภาค โดยคำนึงถึง 4 องค์ประกอบหลัก คือ อันดับแรก คือ การสร้างพื้นฐานพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศ กลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้มีความเป็นเลิศโดยสร้างสถานที่สำหรับการฝึกอบรมพร้อมการพัฒนาทักษะรวมถึงการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่เชี่ยวชาญ อันดับต่อมา คือ การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างภาคีหลักของอุตสาหกรรมไมซ์โดยประเทศสามารถสร้างสหภาพกับภาคธุรกิจหรีอองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และทรัพยากร รวมถึงการส่งเสริมการค้าและการลงทุนร่วมกัน ลำดับที่ 3 การสร้างศักยภาพทางวิจัย
และนวัตกรรม โดยร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างความหลากหลายในผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้อง กับอุตสาหกรรมไมซ์ สุดท้าย คือ การส่งเสริมการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยกิจกรรมทั้งหมดนี้สามารถเกิดขึ้นภายใต้แพลทฟอร์การจัดงานแสดงสินค้า ที่พร้อมเชื่อมต่อและสร้างโอกาสระหว่างผู้ประกอบการไทยและกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ส่วนนายวิศวชนนท์ วิชัยยุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น หรือ ศูนย์ประชุมฯไคซ์ เผยว่า ศูนย์ประชุมฯไคซ์ย้ำชัดพร้อมจัดงานทุกรูปแบบด้วยมาตรฐานสากล อาทิ ISO9001, TMVS และ AMVS ผนวกกับพื้นที่ขนาดใหญ่สามารถรองรับผู้เข้าชมงานกว่า 20,000 ราย ครบครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก พร้อมปักหมุดศูนย์กลางของอุตฯไมซ์ เชื่อมสู่กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS) นำความเจริญ
ผ่านแพลตฟอร์มการจัดงานแสดงสินค้า เพราะด้วยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งขอนแก่นตั้งอยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่สอดคล้องกับกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และการตั้งอยู่ใกล้กับประเทศต่างๆ ทำให้ขอนแก่นเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในการจัดงานแสดงสินค้าในภูมิภาคนี้ และกิจารรมต่างๆที่เกิดขึ้นภายใต้แพลตฟอร์มการสินค้าจะช่วยส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการซื้อขาย อีกหนึ่งไฮไลท์ คือ การเป็นศูนย์กลางของเอ็นเตอเทนเมนท์แห่งภาคอีสาน โดยมีคอนสิร์ตจากศิลปีนชั้นนำทั้งในและต่างประเทศขนทัพมาจัดแสดงอยู่เสมอ คุณวิศวชนนท์ ยังเผยถึงแผนในอนาคตของศูนย์ประชุมฯไคซ์ ที่จะขยายธุรกิจด้านการจัดแสดงสินค้าให้ครบทุกมิติ เพื่อให้บริการเบ็ดเสร็จในที่เดียว โดยเริ่มเฟสแรกในครึ่งปีหลังนี้กับอีกบทบาทในฐานะผู้จัดงานแสดงสินค้า โดยโชว์แรก คือ งาน บียอนด์ ฟู้ด เอ็กซ์โป 2023 ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง 7-9 กันยายน 2566 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Food, Feature to Fight” เป็นการนำเสนอความหลากหลายของอาหาร (Food) ผลักดันศักยภาพที่โดดเด่นของผู้ประกอบการอาหารในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ( Feature) ให้สามารถต่อสู้ (Fight!) กับภาวะเศรษฐกิจที่มีความท้าทาย อย่างยิ่งในปัจจุบัน ต่อด้วย งานมูเตลู เอ็กซ์โป 250 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27- 29 ตุลาคม 2566 ซึ่งจะเป็นงานแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทุกศาสตร์ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องราง ของขลัง ไปจนถึงพีธีกรรมต่างๆเพื่อเสริมดวงชะตาชีวิตด้านต่างๆ อาทิ การเงิน การงาน ความรัก สุขภาพ และโชคลาภ ที่ครบควันที่สุดในภาคอีสาน
“ทั้งนี้ ถือเป็นโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในอุตฯไมซที่จะยกระดับและปรับตัวให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการสนับสนุนขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนดังที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคอีสานให้บรรลุเป้าหมายต่อไป”นายวิศวชนนท์ กล่าว.