จ.ขอนแก่น จัดพิธีต้อนรับหรัญบัฎ พัดยศ พระพรหมวชิรดิลก
จังหวัดขอนแก่น จัดพิธีถวายการต้อนรับหิรัญบัฏ พัดยศ และผ้าไตรพระราชทาน พระราชาคณะเจ้าคณะรอง พระพรหมวชิรดิลก เจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙ (ธ)
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ วัดป่าแสงอรุณ ตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาสมณศักดิ์ให้พระธรรมดิลก เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง พระพรหมวชิรดิลก (สมาน สุเมโธ ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙ (ธ) โดยมีนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีถวายการต้อนรับหิรัญบัฏ พัดยศ และผ้าไตรพระราชทาน และมุทิตาจิต สักการะ
ในการนี้นางกมนรัตน์ สิมมาคำ วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น พร้อมข้าราชการ เจ้าหน้าที่เข้าร่วมพิธีฯ และสนับสนุนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่พิธีการฯ
ประวัติพระธรรมดิลก พระราชาคณะเจ้าคณะรอง พระพรหมวชิรดิลก (สมาน สุเมโธ ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙ (ธ) มีผลงานและคุณสมบัติต่างๆ เป็นที่ยกย่องเชิดชูมากมาย ทั้งในด้านการบริหารและด้านวิชาการอีกทั้งเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตรงดงามด้วยการครองตน เปี่ยมไปด้วยเมตตา เป็นที่ยอมรับและเลื่อมใสศรัทธาแก่สาธุชนอย่างมากปัจจุบัน พระธรรมดิลก(สมาน สุเมโธ) สิริรวมอายุ 78,67 พรรษา 59 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต) และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จ.ขอนแก่น
พระธรรมดิลก มีนามเดิมว่า สมาน อุบลพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2488 ที่บ้านเลขที่ 105 ม.9 ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายไหลและนางอ่อน อุบลพิทักษ์สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านพระคือ ต.พระลับ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2502 ที่วัดศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น โดยมีพระวินัยสุนทรเมธี เป็นพระอุปัชฌาย์จากนั้น มุ่งศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ จากสำนักศาสนศึกษาวัดป่าชัยวัน ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น
เมื่อปี พ.ศ.2507 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวัดป่าชัยวันครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 ที่วัดศรีจันทร์ โดยมีพระพิศาลสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาเพิ่มเติมทั้งทางโลกและทางธรรม พ.ศ.2510 สอบได้ประกาศนียบัตรพิเศษวิชาการศึกษา (พก.ศ.) และด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้าแสวงหาความรู้ ได้มุมานะศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี พ.ศ.2517 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดนรนาถสุนทริการาม แขวงสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ ท่านมีความรู้ความสามารถพิเศษมากมาย อาทิ งานสารบรรณ, งานเลขานุการ, งานจัดประชุมสัมมนา, งานจัดอบรม, บรรยายเชิงวิชาการด้านพระศาสนา, วัฒนธรรม,ประเพณีอีสาน, เขียนบทผญา, กลอนสรภัญญะ, งานนวัตกรรม, ออกแบบสถาปัตยกรรมการก่อสร้าง ด้านศาสนวัตถุเป็นต้นงานด้านการศึกษา พ.ศ.2526 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี ประจำสำนักศาสนศึกษาวัดป่าแสงอรุณ และเป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดป่าแสงอรุณ และเป็นรองอธิการบดี สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน พ.ศ.2542 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม กรุงเทพฯ เป็นผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดป่าแสงอรุณงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา พ.ศ.2545 อุปถัมภ์การจัดพิมพ์คู่มือทําวัตร สวดมนต์ สำหรับอุบาสก อุบาสิกา พ.ศ.2546 เป็นผู้ดำเนินรายการ เสียงธรรมนำชีวิต MHz ออกอากาศทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ขอนแก่น พ.ศ.2547 เขียนสาระธรรม คอลัมน์มงคลธรรมนำชีวิต ออกรายการ เสียงธรรมนำชีวิต สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ขอนแก่นงานสาธารณูปการพ.ศ.2547 เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างโรงอุโบสถ วัดป่าแสงอรุณ ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ขนาดความกว้าง 15 เมตร ยาว 34 เมตร สูงจากพื้นดินเดิม 60 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในประดิษฐาน พระประธาน พระพุทธรังสิโยภาสสุขพิพัฒน์ที่สไบทิพย์งานพิเศษ เป็นอาจารย์พิเศษบรรยายหลักสูตรพระพุทธศาสนา ระดับปริญญาตรี-โท มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยากรของกรมการศาสนา รองประธานมูลนิธิคณะสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประธานกองทุนผู้ปฏิบัติธรรมวัดป่าแสงอรุณ, ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติวัดป่าแสงอรุณ กรรมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดขอนแก่น กรรมการพิเศษ วินิจฉัยอธิกรณ์แก้ปัญหาการปกครองคณะสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธ) งานด้านปกครองคณะสงฆ์พ.ศ.2508 เป็นเลขานุการเจ้าอาวาสวัดป่าชัยวัน พ.ศ.2513 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าชัยวัน พ.ศ.2521 เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น พ.ศ.2522 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)พ.ศ.2530 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต) พ.ศ.2532 เป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ พ.ศ.2537 เป็นรองเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)พ.ศ.2541 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต) ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2524 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีปริยัติเวที พ.ศ.2534 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวรานุวัตรพ.ศ.2541 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวรคุณล่าสุด ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2550 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมดิลก 2566 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาสมณศักดิ์ให้พระธรรมดิลก เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง พระพรหมวชิรดิลก (สมาน สุเมโธ ป.ธ. ๙)
พระธรรมดิลก ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี ประจำปี 2549พระธรรมดิลก เป็นพระเถระที่มีภูมิรู้ภูมิธรรมสูงอีกรูปหนึ่ง เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีความเมตตา เรียบง่าย ไม่ถือตัว มีความสามารถด้านการแสดงพระธรรมเทศนาสูง จนเป็นที่ยอมรับนับถือและเลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไปนอกจากนี้ ท่านยังสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการแสดงธรรมได้อีกด้วย โดยปัจจุบันท่านสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมภายในวัดป่าแสงอรุณ และมอบหมายให้ลูกศิษย์อบรมบรรยายธรรมประยุกต์เพื่อให้ทันสมัย จึงมีประชาชนทั่วไปและเยาวชนจากสถาบันการศึกษาเข้ารับการอบรมธรรมอยู่ไม่ขาด
ท่านยังพยายามสร้างจิตสำนึกให้พุทธศาสนิกชนชาวอีสานหันมายึดมั่นในคุณงามความดีตามหลักการปฏิบัติของชาวอีสานในอดีต ให้ชาวบ้านทั่วไปรู้ถึงคุณค่าที่แฝงอยู่อย่างแท้จริงให้ธรรมะที่ถูกต้อง และโดยเฉพาะปัจจุบันชาวบ้านในถิ่นอีสาน ส่วนหนึ่งติดอบายมุข เช่น ดื่มเหล้ามากขึ้น งานบุญต่างๆ มักจะมีเหล้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอหรือแม้จะไม่มีงานก็ยังดื่มเหล้าได้ทุกวันคนอีสานในอดีตจะดื่มเหล้าเดือนละครั้ง คือ งานประจำเดือน (ฮีต 12) และการดื่มเหล้าจะพยายามไม่ให้ลูกหลานได้พบเห็นเหมือนปัจจุบันนี้ พยายามปลูกจิตสำนึกเรื่อง ลด ละ เลิก อบายมุขในงานบุญ เป็นต้น
พระธรรมดิลก เป็นพระนักเทศน์ที่ไม่เหมือนใคร เมื่อท่านแสดงธรรมจบแล้วมักจะมีของแจก อาทิ แจกหนังสือธรรม แจกเสื้อเป็นต้น บ่อยครั้งที่เทศน์จบแล้ว ท่านจะมอบเงินกัณฑ์เทศน์ให้เจ้าภาพคืน เพราะเห็นว่าฐานะของเจ้าภาพนั้นควรช่วยเหลือ ท่านไม่เลือกว่าจะเทศน์ให้ใครฟัง ไม่เลือกชั้นวรรณะที่จะต้อนรับที่จะรับงานเทศน์ของศรัทธาชนใดๆ สิ่งที่เป็นผลงานโดดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ การสร้างสิมอีสาน (โบสถ์) ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวอีสาน เป็นสถาปัตยกรรมอีสานประยุกต์ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและประกอบกิจกรรมต่างๆ ปัจจุบัน พระธรรมดิลก ยังคงทําหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง.