“สพป.ขอนแก่น เขต 1″จัดอบรมครูไซเบอร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาองค์กร เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
เมื่อเวลา 09.00 น วันที่ 10 สิงหาคม 2566 ที่ ห้องภูผาม่าน โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ดร.กมลวรรณ ทิพยเนตร รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1(สพป.ขอนแก่น เขต 1) เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาองค์กร โดยมี ดร.อุทุมพรพัต สุคนธาภิพัฒนกุล (ศึกษานิเทศชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กล่าวรายงาน ในการนี้ ครูผู้รับผิดชอบดูแลระบบเว็บไซต์ของโรงเรียน และบุคลากรภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 1 ทุกกลุ่มงาน บุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมอบรม ในครั้งนี้ จำนวน130 คน
ดร.กมลวรรณ ทิพยเนตร รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กล่าวว่าการอบรมในวันนี้ก่อนอื่น ต้องขอแสดงความชื่นชมที่ทุกท่านได้มุ่งมั่น ในการเข้าร่วมอบรม เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานในหน้าที่ และหน้างานที่เกี่ยวข้องต่อไปก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจ คำว่า เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) คืออะไรทักษะความเข้าใจและใช้ทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงานและการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
ดร.กมลวรรณ กล่าวอีกว่า ทักษะดังกล่าวครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ1. การใช้ (Use)2. เข้าใจ (Understand) 3.การสร้าง (create)4.เข้าถึง (Access) เทโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลในสมัยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศใช้วิสัยทัศน์เชิงนโยบายที่จะเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมภายใต้ชื่อ “ไทยแลนด์ 4.0″ได้ให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้เป็นโมเดลการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยที่มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม(Value-Based Economy) เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ป่านกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำและกับดักความสมดุลที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ในฐานะประเทศที่กำลังพัฒนาไปสู่ประเทศที่พัฒนา
ดร.กมลวรรณ กล่าวด้วยว่า หน่วยงานรัฐทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต้องมีการปรับปรุงแผนปฏิบัติงานแผนปฏิบัติราชการ แผนพัฒนาในหน่วยงาน รวมไปถึง การจัดทำกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ของหน่วยงานในภาพรวม เพื่อตอบสนองและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่รัฐบาลได้วางไว้ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 -2580) และแผนการปฏิรูปประเทศ กำหนดให้ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานบุคคล ภาครัฐเพื่อจูงใจให้ผู้มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงเข้ามาทำงานในหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นให้กำลังคนภาครัฐมีสมรรถนะสูงมีความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่ทันสมัย ปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ และยึดมั่นในคุณธรรม
ดร.กมลวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่าทางสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ขานรับนโยบายนี้จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ เป็นเลิศด้านการบริหารจัดการ เพื่อผลักดันทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในการปฏิบัติราชการ โดยการขับเคลื่อนการใช้ระบบเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ (e-document) อย่างเต็มรูปแบบมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงานด้วยมือและกระดาษให้เป็นระบบ อิเล็กทรอนิกส์และนำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-document) มาใช้อย่างเต็มรูปแบบในช่วง COVID 19 ที่นักเรียนไม่ได้มาเรียนที่สถานศึกษา ต้องใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน และจากการสำรวจของสพป.ขก.เขต 1 พบว่า ครูผู้สอนเลือกสอนแบบ On-hand เพราะข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา ปัญหาการใช้ทคโนโลยีจากงานวิจัยของ วิทเทคเกอร์ (Whittaker) พบว่า การขาดการวางแผนที่ดีพอ
ดร.กมลวรรณ กล่าวทิ้งท้ายว่าการนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน อาชญากรรมทางไซเบอร์ การใช้ application โจรกรรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามข่าวสารที่เห็นในปัจจุบัน การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ส่วนมากข้อจำกัดของโรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอขาดงบประมาณสนับสนุน บุคลากรมีข้อจำกัดในเรื่องอายุ ทักษะของ Digital literacy ตลอดจนไม่มีความรู้ด้านการใช้งาน ICTฉะนั้น ภายหลังที่ท่านได้เข้ารับการอบรมในวันนี้ จึงมีความเชื่อมั่นว่าท่านจะไปต่อยอดเติม เต็มกระบวนการทำงานของท่านในด้านต่าง ๆ อาทิการบริหารจัดการโดยระบบเว็บไซต์ของโรงเรียนการนำระบบเทคนโลยีดิจิหัลมาใช้ในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมการบริหารจัดการ งานทั้ง 4 ด้าน การถ่ายภาพ การออกแบบ การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ผลงานขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งภาระงานเหล่านี้ จะเป็นตัวขับเคลื่อนไปสู่คุณภาพผู้เรียนต่อไป
ด้าน ดร.อุทุมพรพัต สุคนธาภิพัฒนกุล (ศึกษานิเทศชำนาญการพิเศษ)ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กล่าวว่า กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในนามของผู้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาองค์กรการจัดอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อให้บุคลากรผู้รับผิดชอบเว็บไชต์โรงเรียนมีความรู้ ความสามารถในการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมการบริหารจัดการงานทั้ง 4 ด้าน อีกทั้งเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ประสบการณ์การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์การออกแบบ การนำเสนอ และเผยแพร่ผลงานขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพการอบรมฯ ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมอบรมฯ ได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบ ดูแลระบบเว็บไซต์ของโรงเรียน และบุคลากรภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ทุกกลุ่มงาน
โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ขอนแก่น เขต 1 และได้รับการสนับสนุนวิทยากร ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ได้แก่ นายหมวดตรีชูไทย วงศ์บุญมี ประธานชมรมนักข่าว-นักหนังสือพิมพ์ และนักจัดรายการจังหวัดขอนแก่น มาเป็นวิทยากรในการ แนะนำการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ ,นายสมบุญ สวัสดิ์พีระ ผู้จัดการร้านโฟโต้เบสดิจิตอลแล็ป ร่วมเป็นวิทยากรแนะนำ เทคนิคการถ่ายภาพแบบมืออาชีพ ในการถ่ายภาพเชิงลึก ขั้นสูง ,นายภานุวัฒน์ สิงห์หาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนหินเหิบศิลาทิพย์ เป็นวิทยากรแนะนำ หลักการ การพัฒนาระบบเว็บไซต์ ของโรงเรียน และทีม ICT สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. การออกแบบจดหมาย ข่าวประชาสัมพันธ์ ผ่าน Application ต่างๆ และ ให้ความรู้เพิ่มเติมในการเขียนจดหมายข่าว.